บทคัดย่องานวิจัย

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกกล้วยของไทย

ฉันทนา เหล่าทวีทรัพย์

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 137 หน้า

2537

บทคัดย่อ

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกกล้วยของไทย  ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการผลิต การตลาด และการแปรรูปกล้วย รวมทั้งเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดกล้วยและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกกล้วยของไทย ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-2534 จากการศึกษาพบว่า ภาวะ การผลิตกล้วยหอม กล้วยน้ำว้าและกล้วยไข่มีเนื้อที่และปริมาณการผลิตลดลง ส่วนการส่งออกปริมาณการส่งออกทั้งกล้วยสดและกล้วยตากมีแนวโน้มลดลง สำหรับส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์นั้น ประเทศไทยได้รับส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น คือ จากร้อยละ 4.20 เป็นร้อยละ 6.75 และจากร้อยละ 0.0071 เป็นร้อยละ 0.021 ตามลำดับ ส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดลดลงจากร้อยละ 4.95 เป็นร้อยละ 0.15 และจากร้อยละ 0.0016 เป็นร้อยละ 0.0009 ตามลำดับโดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกกล้วยของไทยไปสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสิงคโปร์ คือราคาส่งออกกล้วยของไทยปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศผู้นำเข้า ราคาส่งออกกล้วยของฟิลิปปินส์ปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศผู้นำเข้า และรายได้ประชาชาติต่อบุคคลที่ใช้ในการบริโภคปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศผู้นำเข้า สำหรับในตลาดญี่ปุ่นนอกจากปัจจัยดังกล่าวมาแล้ว จำนวนประชากรก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกของไทย โดยค่าความยืดหยุ่นของปริมาณการส่งออกต่อราคาส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น มีลักษณะความยืดหยุ่นแบบความยืดหยุ่นน้อย (inelastic) โดยมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.50338, 0.80942 และ 0.21638 ตามลำดับ และความยืดหยุ่นในตลาดฮ่องกงมีค่าความยืดหยุ่น เท่ากับ 1.07647 โดยเป็นลักษณะความยืดหยุ่นแบบความยืดหยุ่นมาก (elastic) จึงกล่าวได้ว่า ฮ่องกงเป็นตลาดหลักที่ควรให้ความสำ