บทคัดย่องานวิจัย

สารต้านเชื้อราในยางมะม่วง

กัญญา ลาภจิตร

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2539. 74 หน้า.

2539

บทคัดย่อ

สารต้านเชื้อราในยางมะม่วง            ทำการสกัดสารจากยางของผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์น้ำดอกไม้ขณะดิบ เพื่อหาสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Cladosporium cladosporioides โดยใช้ไดคลอโรมีเธนและเมื่อนำมาตรวจสอบส่วนสกัดหยายโดยวิธีสเปรย์สารแขวนลอยสปอร์เชื้อราบนแผ่น thin layer chromatography พบว่าส่วนสกัดหยาบที่ Rf 0.08-0.25 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ เมื่อนำสารที่ Rf ดังกล่าวมาทำให้บริสุทธิ์ขึ้นโดยทำ preparative thin layer chromatography ซ้ำ 3 ครั้งได้องค์ประกอบ PN3 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ PN3โดยเครื่องมือชุดแก๊สโครมาโตกราฟ-แมสสเปก-โตรมิเตอร์ (GC-MS) และเทคนิคทาง spectroscopy พบว่า PN3 ประกอบไปด้วยสาร 3 ชนิด โดยสารที่ 1 และสารที่ 2 คาดว่าเป็นสาร alkyl phthalates ส่วนสารที่ 3 อาจจะเป็นสารdi-2-ethylhexyl phthalate (l) เมื่อนำสารชนิดเดียวกันจากบริษัท BDH มาสเปรย์เชื้อราไม่พบแถบที่ต้านเชื้อรา การหาปริมาณสาร PN3 ในยางมะม่วง 2 พันธุ์ คือ เค้นท์ และน้ำดอกไม้ พบว่าในพันธุ์เค้นท์มีมากกว่า