บทคัดย่องานวิจัย

การอบข้าวเปลือกในที่เก็บและการเก็บรักษาในสถานที่ใช้งานจริง

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ พิพัฒน์ อมตฉายา สมเกียรติ ปรัชญาวรากร อดิศักดิ์ นาภกรณกุล สิทธิชัย อินทร์จันทร์

ว.เกษตรศาสตร์(สังคม)ปีที่ 18:86-100 (2540)

2540

บทคัดย่อ

การอบข้าวเปลือกในที่เก็บและการเก็บรักษาในสถานที่ใช้งานจริง

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากรอบแห้งข้าวเปลือกในทีเก็บและการเก็บรักษาในสถานที่ใช้งานจริง โดยในเชิงเศรษฐศาสตร์ต่อการลงทุนระบบอบแห้งในที่เก็บโดยใช้อากาศแวดล้อมเป่าผ่านกองข้าวเปลือกขนกด 105 ตัน ด้วยอัตราการไหล 0.57 m/min-m ข้าวเปลือกพบว่าในการลดความชื้นข้าวเปลือกพบว่าในการลดความชื้นข้าวเปลือกโดยเฉลี่ย 17% มาตราฐานเปียก ให้เหลือ 11.6% มาตราฐานเปียก จะใช้เวลาอบแห้ง 9 สัปดาห์ โดยชั้นที่ลึกน้อย หลังจากที่อบแห้งแล้วก็จะเก็บรักษาต่อไปอีก 19 สัปดาห์ พบว่าความขาวเฉลี่ยที่แต่ละระดับความลึกอยู่ในเกณฑ์ดี และการอบแห้งโดยวิธีนี้สามารถรักษาเปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดให้อยู่ในสภาวะคงเดิม ในช่วงของการอบแห้ง ให้อยู่ในสภาวะคงเดิม ในช่วงของการอบแห้งให้ความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 14 kW-h/ตันข้าวเปลือก หรือเสียค่าไฟฟ้า 21 บาท/ตันข้าวเปลือก สำหรับในช่วงการเก็บรักษานั้นจะเป่าอากาศสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ซึ่งให้ความสิ้นเปลืองพลังงาน 1.31 kW-h/ตันข้าวเปลือก หรือ เสียค่าไฟฟ้า 1.97 บาท/ตันข้าวเปลือก

จากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์โดยวิธีมูลค่าปัจจุบัน ในอัตราส่วนลด 10% และ 15% พบว่า การลงทุนในระบบอบแห้งเพาะในส่วนระบบท่อลมจะคืนทุนในเวลา 1.5 และ 1.6 ปี เมื่ออบแห้งข้าวเปลือก 1 ครั้ง/ปี, จะคืนทุนภายในเวลา 0.6 และ 0.7 ปี เมื่ออบแห้งข้าวเปลือก 2 ครั้ง/ปี จากการวิเคราะห์ความไวพบว่ารายได้และอายุโครงการมีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงเงินปัจจุบันสุทธิ จากการเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนใหม่ทั้งหมดในฉางเก็บและลานตากโดยใช้อัตราส่วนลด 10 % และ 15 % พบว่าการลงทุนในฉางเก็บจะคืนทุนในลานตากไม่มีระยะเวลาคืนทุน และสำหรับในกรณีการลงทุนใหม่ทั้งหมดในฉางเก็บ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเงินปัจจุบันสุทธิได้แก่ รายรับ รายจ่าย และอัตราดอกเบี้ย ของโครงการ แต่ในกรณีลานตากกลับพบว่าเฉพาะค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อเงินปัจจุบันสุทธิ