บทคัดย่องานวิจัย

แนวทางที่เหมาะสมทีสุดสำหรับการอบแห้งข้างเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดแบบสั่นสะเทือน

สุวัฒน์ ตรูทัศนวินท์ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ และ สมบูรณ์ เวชกามา

การประชุมวิชาการทางวิศวกรรม ประจำปี 2542. 1-2 พฤศจิกายน 2542. สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ, 2542. หน้า 274-280.

2542

บทคัดย่อ

แนวทางที่เหมาะสมทีสุดสำหรับการอบแห้งข้างเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดสั่นสะเทือน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับหาความหนาของฉนวนที่เหมาะสมที่สุดเชิงเศรษฐศาสตร์และหาแนวทางการอบแห้งที่เหมาะสมที่สุดของการอบแห้งข้าวเปลือก โดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดสั่นสะเทือน โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาสามารถคำนวณและทำนายค่าต่าง ๆ ของการอบแห้งข้าวเปลือกได้ค่อนข้างดี การหุ้มฉนวนความหนา 25 mm สามารถลดการสูญเสียความร้อนได้ประมาณ 90-91 % โดยความหนาฉนวนที่เหมาะสมที่สุดเชิงเศรษฐศาสตร์ในแต่ละปริมาตรควบคุมมีค่าไม่เกิน 50 mm และมีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 10 วัน สำหรับการอบแห้งข้าวเปลือกที่ขนาดกำลังผลิต 5 ton / h ความชื้นเริ่มต้นเท่ากับ 30 % มาตรฐานแห้ง และความเร็วอากาศอบแห้ง 2.3 m / s สภาวะเงื่อนไขการอบแห้งข้าวเปลือกที่เหมาะสมที่สุดโดยเทคนิคฟลูอิไดเซชัน มีดังนี้ อุณหภูมิอากาศอบแห้ง 150 o C สัดส่วนอากาศเวียนกลับ 0.93 และความสูงชั้นข้าวเปลือก 11.9 cm มีความสิ้นเปลืองพลังงานปฐมภูมิจำเพาะเท่ากับ 5.77 MJ / kg - water evaporated และความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 24.9 % d . b . และสำหรับการอบแห้งโดยเทคนิค ฟลูอิไดซ์เบดสั่นสะเทือน ที่กำลังการผลิตและความชื้นเริ่มต้นเท่ากัน แต่ความเร็วอากาศอบแห้ง 1.5 m / s สภาวะเงื่อนไขการอบแห้งที่เหมาะสมที่สุด มีดังนี้ อุณหภูมิอากาศอบแห้ง 143 oC สัดส่วนสั่นสะเทือน 5 Hz และความเข้มการสั่นสะเทือน 2.5 มีความสิ้นเปลืองพลังงานปฐมภูมิจำเพาะเท่ากับ 5.37 MJ / kg - water evaporated และความชื้นสุดท้ายเท่ากับ26.0 % d . b . ซึ่งการอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดสั่นสะเทือนมีความสิ้นเปลืองพลังงานปฐมภูมิจำเพาะน้อยกว่าการอบแห้งโดยเทคนิคฟลูอิไดเซชันประมาณ 7 %