บทคัดย่องานวิจัย

Metabolic response of ‘Braeburn’ apple and ‘Fuyu’ persimmon to anoxic and CO2 shock treatments

Yearsley, C.W., Gong, Y., Burmeister, D.M., Lallu, N. and Burdon, J.N.

The Horticulture and Food Research Institute of New Zealand Limited, Private Bag 92169, Auckland, New Zealand,

-

บทคัดย่อ

การจัดการข้าวโพดชื้นโดยการอบแห้งแบบฟลูอิไดเซชัน, การเทมเปอร์ และการเป่าอากาศแวดล้อม

            จุดประสงค์ในงานวิจัยนี้  เพื่อศึกษาแนวทางการลดความชื้นของข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยวอย่างเป็นระบบ  โดยเริ่มตั้งแต่การอบแห้งอย่างรวดเร็วด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซชัน  ตามด้วยการเก็บในที่อับอากาศที่อุณหภูมิของเมล็ดหลังการอบแห้ง  และการเป่าอากาศแวดล้อมเข้าในกองเมล็ด  ข้าวโพด  ตามลำดับ  โดยพิจารณาถึงปริมาณความชื้นของข้าวโพดที่สามารถลดลงได้  และคุณภาพของผลิตภัณฑ์

            คุณภาพของข้าวโพดพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์การร้าว  เปอร์เซ็นต์การปริแตก  และสีของเมล็ด  จากการทดลอง  พบว่า การร้าวหลายแนวของเมล็ดข้าวโพดหลังการอบแห้งขึ้นอยู่กับค่าความชื้นสุดท้ายของเมล็ดข้าวโพดและไม่ควรมีค่าต่ำกว่า  18.0 %w.b  การเก็บเมล็ดข้าวโพดหลังการอบแห้งในที่อับอากาศมีส่วนช่วยทำให้คุณภาพของเมล็ดข้าวโพดที่ผ่านการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซชันดีขึ้น  โดยมีระยะเวลาที่เหมาะสมประมาณ 40 นาที  และการเป่าอากาศแวดล้อมผ่านกองเมล็ดข้าวโพดสำหรับสภาวะที่ใช้ในการทดลองในช่วงความเร็วของอากาศแวดล้อม    0.075 – 0.375  m/s  พบว่า   ความเร็วอากาศแวดล้อมที่เหมาะสมมีค่าประมาณ  0.150 m/s (300 m3 /min- m3  corn  ที่ความสูงเบด  3.0 cm)  เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวโพดที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดมีความชื้นสุดท้ายประมาณ  13.0 – 14.5 % w.b.  โดยมีค่าการปริแตกและการร้าวของเมล็ดข้าวโพดไม่เกิน  2 และ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตามลำดับ  และสีของเมล็ดข้าวโพดไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติมากนัก