บทคัดย่องานวิจัย

การควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ โดยชีววิธีแบบผสมผสาน

สุมิตรา น้อยเอี่ยม

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ. 2540. 180 หน้า

2540

บทคัดย่อ

การควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ โดยชีววิธีแบบผสมผสาน INTEGRATED BIOLOGICAL CONTROL OF MANGO ANTHRACNOSE VAR. CHOAKANON

            การสำรวจและศึกษาแหล่งระบาดของโรคแอนแทรคโนสมะม่วง  ในพื้นที่ปลูกจำนวน  7,656  ไร่  ทางภาคตะวันออก  5  จังหวัด ได้แก่  ฉะเชิงเทรา  607 ไร่  ปราจีนบุรี  2,840 ไร่  สระแก้ว  318 ไร่  ชลบุรี  3,688  ไร่  และระยอง  203 ไร่  พบว่าในทุกพื้นที่ปลูกมะม่วงมีโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporioides  (Penz.) Sacc.  เข้าทำลายมะม่วง  พันธุ์น้ำดอกไม้  พันธุ์เขียวเสวย  และพันธุ์โชคอนันต์  โดยเชื้อเข้าทำลายมากที่สุดบนผลมะม่วง  รองลงมาได้แก่  ใบ  และช่อดอก

            การแยกเชื้อสาเหตุทำให้เกิดโรคแอนแทรคโนส  ของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์  พบเชื้อรา  C. gloeosporioides  จำนวน  10  isolates  ซึ่งแยกเชื้อได้จากช่อดอก  จำนวน  1  isolate  (IFF)  จากผล  4 isolates  ได้แก่  IFF1,  IFF2,  IFF3,  และ  IFF4   จากใบจำนวน  3 isolates  ได้แก่  IFL1, IFL2  และ  IFL3  และจากดิน  และเศษซากพืชบริเวณโคนต้นมะม่วง  จำนวน  2  isolates  ได้แก่  IFS1  และ  IFS2

            ทำการทดสอบความสามารถในการเกิดโรคแอนแทรคโนสกับมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์  พบว่า  isolate IFF1  ซึ่งมีการเจริญเติบโตและสร้าง  conidia  ได้ดี  มีความรุนแรงต่อการเกิดโรคกับผล  ใบและต้นกล้ามะม่วงอายุ  3  เดือน  เมื่อปลูกเชื้อโดยใช้ปริมาณเชื้อก่อโรค  4 x 106  สปอร์/มิลลิลิตร  และจากการทดสอบกับพืชอาศัยอื่น ๆ  พบว่า  isolate  IFF1  ยังสามารถทำให้เกิดโรคกับต้นกวางตุ้ง  มะเขือเทศ  ถั่วเหลือง  ฟิโลเดนดรอน  ถั่วเขียว  และถั่วลิสงได้  เมื่อใช้สปอร์แขวนลอยที่ความเข้มข้น  4.2 x  106  สปอร์/มิลลิลิตร  อย่างไรก็ตาม  isolate  IFF1  ไม่แสดงอาการโรคกับต้นพริก  ว่านสี่ทิศ  เขียวหมื่นปี  และซองออฟจาไมก้า

            จากการทดสอบความต้องการอาหารในการเจริญเติบโตของเชื้อรา  C. gloeosporioides  isolate  IFF1  พบว่าสามารถเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ได้ดีบนอาหาร  Potato  Dextrose  Agar. (PDA)  ที่ระดับ  pH  5.00-7.00  อุณหภูมิ  30  องศาเซลเซียส  ส่วนการทดสอบเชื้อราที่เป็นจุลินทรีย์ต่อต้าน  (microbial  antagonists)  พบว่า  Chaetomium  cupreum,  Chaetomium  globosum  มีการเจริญเติบโต  และสร้างสปอร์ได้ดี  บนอาหาร  PDA  ที่ระดับ  pH 5.00-6.00  อุณหภูมิ  20-30 องศาเซลเซียส  ส่วน  Trichoderma  harzianum  PC01   และ   Trichoderma  hamatum  PC02  พบว่าเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ได้ดี  บนอาหาร  PDA  ที่ระดับ  pH  4.00-5.00  อุณหภูมิ  20-30  องศาเซลเซียส

            การทดสอบการเลี้ยงเชื้อร่วมบนอาหาร  PDA  ระหว่างเชื้อรา  C. gloeosporioides  IFF1  กับเชื้อราที่เป็นจุลินทรีย็ต่อต้านพบว่า  T.  Harzianum  PC01  สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของโคโลนีและการสร้างสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสได้  74.13  และ  97.31  เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  T. hamatum  PC02  สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของโคโลนีและการสร้างสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคดังกล่าวได้  63.24  และ  55.13  เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  ในขณะที่  Ch.globosum  สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของโคโลนี  และการสร้างสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคได้  62.38  และ  76.20  เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  ส่วน  Ch.cupreum  สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของโคโลนี  และการสร้างสปอร์ได้  52.02  และ  53.17  เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

            จากการทดสอบการใช้ชีวผลิตภัณฑ์  (bioproducts)  ที่ผลิตจาก  Chaetomium spp.  และ  Trichoderma  spp.  ในแปลงทดลองของเกษตรกร  เพื่อป้องกันโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์  อายุ  5 ปี  ระยะปลูก  3 x 3  เมตร  ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์   2539  ถึงมีนาคม  2540  โดยก่อนทำการทดลองพบว่า  ในแปลงทดลองที่จะใช้ชีวผลิตภัณฑ์  Chaetomium,  Trichoderma  และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  มีระดับการเกิดโรคแอนแทรคโนส  และปริมาณเชื้อก่อโรคในเศษซากพืชในดินไม่แตกต่างกันทางสถิติ  ภายหลังการทดลองใช้ชีวผิลตภัณฑ์  Chaetomium  ชนิดเม็ดในอัตรา  20 กรัมต่อต้น  โดยหว่านรอบโคนต้น  ทุก  4  เดือน  ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์  กทม.5  กิโลกรัมต่อต้น  พบว่าในแปลงทดลองใช้  Chaetomium  สามารถลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสได้  55.93  เปอร์เซ็นต์และลดปริมาณเชื้อก่อโรคในดินได้  79.88  เปอร์เซ็นต์  ในแปลงทดลองใช้  Trichoderma  ชนิดเม็ด   ในอัตรา  40 กรัมต่อต้น  หว่านรอบโคนค้นทุก  4  เดือนร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์  กทม. 5 กิโลกรัมต่อต้น  พบว่าสามารถลดการเกิดโรคแอนแทรคโนส  และปริมาณเอก่อโรคในดินได้  55.53  และ  81.26  เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงทดลองใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่ฉีดพ่นสลับกันทุก  7 วัน ได้แก่  Carbendazim,  Zinep,  Manep  และ  Copper  oxychloride  พบว่า สามารถลดการเกิดโรคได้  50.16 เปอร์เซ็นต์และลดปริมาณเชื้อก่อโรคได้  23.83  เปอร์เซ็นต์  ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเปรียบเทียบกับแปลงทดลองใช้ชีวผลิตภัณฑ์  Chaetomium    และ  Trichoderma

            จากการทดลองเปรียบเทียบการเกิดโรคในช่อดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ใน  2 ช่วงได้แก่  ฤดูฝน  (พฤษภาคม  -  สิงหาคม  2539)  และฤดูร้อน  (มกราคม – เมษายน 2540)  ในแปลงทดลองใช้ชีวผลิตภัณฑ์  Chaetomium  ที่ฉีดพ่นสปอร์แขวนลอย  (spore suspension)  ในปริมาณ  22 x 1010  สปอร์ต่อมิลลิลิตร  ต้นละ  500  มิลลิลิตร  ทุก  30 วัน  พบว่าการเกิดโรคแอนแทรคในสลดลงบนช่อดอก  ส่วนบน  และส่วนล่าง  และในระยะการพัฒนาของผลมะม่วงที่มีอายุ  30  60  และ  90  วัน   ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงทดลองใช้ชีวผลิตภัณฑ์   Trichoderma   ที่ฉีดพ่นสปอร์แขวนลอย  ในปริมาณ  404 x  1010  สปอร์ต่อมิลลิลิตร  ต้นละ  500  มิลลิลิตร  ทุก  30 วัน  และแปลงทดลองใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  Carbendazim,  Zinep,  Manep  และ  Copper   oxychloride  อย่างไรก็ตามการเกิดโรคในฤดูฝนจะมากกว่าในฤดูร้อน  สำหรับคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่ได้รับในฤดูฝน  พบว่าในแปลงที่ใช้ผลิตภัณฑ์  Trichoderma  ให้ผลผลิตสูงสุด  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ใช้ชีวผลิตภัณฑ์  Chaetomium  และสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  สำหรับการให้ผลผลิตในช่วงฤดูร้อนพบว่า  แปลงที่ใช้ชีวผลิตภัณฑ์  Trichoderma  ให้ผลผลิตสูงสุด  รองลงมาคือ  แปลงที่ใช้ชีวผลิตภัณฑ์  Chaetomium  ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ  เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราซึ่งได้รับผลผลิตต่ำสุด  นอกจากนี้การเกิดโรคแอนแทรคโนสหลังการเก็บเกี่ยวในผลมะม่วงที่บ่มไว้เป็นเวลา  5  วัน  พบว่าการเกิดโรคผลมะม่วงเน่าจาเชื้อรา  C. gloeosporioides  ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ  ในแปลงที่ใช้  Trichoderma  และ  Chaetomium  และสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา