บทคัดย่องานวิจัย

การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางสรีรวิทยาและชีวเคมีหลังเก็บเกี่ยวของผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย (Litchi chinensis Sonn. var. Hong Huay) ระหว่างการเก็บรักษาภายใต้อุณหภูมิต่ำ บรรยากาศที่ได้

สมโภชน์ โกมลมณี

วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาชีววิทยา)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528. 112 หน้า.

2528

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางสรีรวิทยาและชีวเคมีหลังเก็บเกี่ยวของผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย (Litchi chinensis Sonn. var. Hong Huay) ระหว่างการเก็บรักษาภายใต้อุณหภูมิต่ำ บรรยากาศที่ได้

การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเก็บรักษาผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยหลังเก็บเกี่ยวได้แก่ การทำความสะอาดผิวด้วยน้ำยาไฮโปคลอไรท์ ( คลอร๊อกซ์) การแช่วิตะมินซี การเคลือบผิว การใช้ยาฆ่าราพบว่า การทำความสะอาดผิวผลลิ้นจี่ก่อนการทดลองในแต่ละสภาพนั้นไม่ให้ผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมด้วยระดับความเชื่อมั่น 90 % การเก็บรักษาโดยวางบรรจุถดหรือเปิดปากถุงพลาสติกทำให้เปลือกผลลิ้นจี่ปรากฏสีน้ำตาลดำภายใน 3 วัน การนำผลลิ้นจี่บรรจุถุงพลาสติกและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 o ซ. จะทำให้มีน้ำหนักผลดี 40 % และ 10 % เมื่อเก็บได้ 15 และ 21 วัน ตามลำดับ การใส่ถุงพลาสติกโดยเก็บที่อุณหภูมิห้อง (28 - 32 o ซ.) จะมีผลทำให้เชื้อราเจริญ การแช่ผลในวิตะมินซีความเข้มข้น 250-1000 มก/ ล อาจมีผลช่วยรักษาสีผิวของผลลิ้นจี่ให้มีสีสดใสนานขึ้น การแช่ผลด้วยยาฆ่าราบีโนมีล (Benoyl 0.5 ก/ ล) ในน้ำที่ 52 o ซ. นาน 2 นาที จะช่วยลดการสูญเสียระหว่างการเก็บรักษาและรักษาสีผิวของผลลิ้นจี่ได้นาน 21 วัน โดยมีน้ำหนักผลดี 40 % การแช่ยาฆ่าราที่ละลายในแอลกอฮอล์จะมีผลให้ผลลิ้นจี่มีสีดำเร็วขึ้น การใช้สารเคลือบผิวสตา- เฟรซ (Sta-fresh) 215 และสตา- เฟรช 705 จะป้องกันการดำของผลลิ้นจี่ที่เก็บในสภาพเปิดได้ 3 วัน การเก็บรักษาผลลิ้นจี่ในถุงพลาสติกการได้รับการเคลือบผิวหรือไม่นั้นไม่มีผลที่แตกต่างกัน ส่วนสารเคลือบผิวชนิดไบรเทค (Britex) และทาล (Tal) ทำให้เปลือกผลลิ้นจี่เป็นสีน้ำตาล และมีกลิ่นเหม็น

สภาพบรรยากาศที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบคือ แกสผสมระหว่าง 10-21 % ออกซิเจน และ 0.03 - 20 % คาร์บอนไดออกไซด์ที่เหลือเป็นไนโตรเย่น ไม่ช่วยในการเก็บรักษาผลลิ้นจี่ให้มีน้ำหนักผลดีเมื่อเทียบกับอากาศธรรมดา ส่วนเทคนิคการใช้ความดันบรรยากาศต่ำ (160 มม. ปรอท) ที่ 2 o ซ. จะรักษาน้ำหนักผลดีได้ 97 % เมื่อวันที่ 10 ของการเก็บรักษา แต่ถ้าเก็บถึง 22 วัน สีผิวของผลจะแดงคล้ำ ขณะที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (28 - 32 o ซ.) เมื่อเวลา 6 วันผ่านไป สีผิวของผลจะเป็นสีเหลืองซีดและเมื่อเปิดภาชนะบรรจุสีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ และมีกลิ่นเหม็น

การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีพบว่าปริมาณของแข็งที่ละลาย (Soluble solid) ปริมาณกรดมาลิค และปริมาณวิตะมินซีลดลงทุกรูปแบบของการเก็บรักษา ส่วนการเก็บรักษาผลลิ้นจี่โดยการแช่วิตะมินซีที่ความเข้มข้นต่าง ๆ หรือไม่แช่วิตะมินซีแล้วบรรจุถุงพลาสติกที่ 10 o ซ. ปริมาณแอนโทไซยานินจะเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มการทดลอง ส่วนกลุ่มที่เก็บรักษาโดยไม่บรรจุถุงพลาสติกปริมาณแอนโทไซยานินจะลดลง