บทคัดย่องานวิจัย

ผลของความดันและอุณหภูมิต่ำต่ออายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์หน้ากลางวันและเขียวเสวย

ธีระ โอ่งวัลย์

การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนชีววิทยา)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532. 111 หน้า.

2532

บทคัดย่อ

การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ ผลของความดันและอุณหภูมิต่ำต่ออายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์หน้ากลางวันและเขียวเสวย

การเก็บรักษามะม่วงพันธุ์หนังกลางวันและเขียวเสวย หลังจากให้ผลมะม่วงอยู่ในสภาพความดันต่ำ 160 และ 260 มม. ปรอท เป็นเวลา 1, 2, 4 และ 12 ชั่วโมง ก่อนนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (27 - 33o ซ.) และอุณหภูมิ 13o ซ. พบว่ามะม่วงพันธุ์หนังกลางวัน กลุ่มที่ให้ความดัน 160 มม.ปรอท ชุดที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องสามารถชะลอการสุกได้ โดยมีค่าความแน่นเนื้อ การเปลี่ยนแปลงสีผิว และค่าการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ แตกต่างจากกลุ่มที่ให้ความดัน 260 มม.ปรอท และกลุ่มควบคุม ส่วนมะม่วงหนังกลางวันชุดที่เก็บที่อุณหภูมิ 13o ซ. และในมะม่วงเขียวเสวยทั้งที่อุณหภูมิห้องและ 13o ซ. สภาพความดันต่ำแสดงผลไม่ชัดเจน การรักษาในสภาพอุณหภูมิต่ำ (13o ซ.) สามารถชะลอการสุกของผลมะม่วงทั้งสองพันธุ์ได้อย่างชัดเจน สามารถยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์หนังกลางวันได้นานประมาณ 35 วัน และพันธุ์เขียวเสวยได้นาน 19 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับชุดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 10 วัน และ 5 วัน โดยยังมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในลักษณะของมะม่วงรับประทานสุกและมะม่วงรับประทานดิบ ตามลำดับการเปลี่ยนแปลงค่าความแน่นเนื้อของมะม่วงเขียวเสวยระหว่างการเก็บรักษามีความสัมพันธ์สูงมากกับคะแนนการยอมรับโดยการประเมิน จึงน่าจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินอายุการเก็บรักษา