บทคัดย่องานวิจัย

เชื้อราในช่อดอกและขั้วผลของลำไยพันธุ์ดอ

ศักดิ์มนตรี นาชัยเวียง

วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาชีววิทยา)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537. 110 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

เชื้อราในช่อดอกและขั้วผลของลำไยพันธุ์ดอ

สำรวจเชื้อราในลำไยพันธุ์ดอ (Euphoria longana Lamk cv. Daw) ช่วงต่าง ๆ โดยการแยกเชื้อราจาก 2680 ตัวอย่าง ซึ่งได้นำมาฆ่าเชื้อบริเวณผิวก่อนแล้วด้วยวิธี Triple Sterilization ตรวจสอบชนิดของเชื้อที่แยกได้ จากนั้นนำมาปลูกที่ขั้วผลเพื่อหาชนิดของเชื้อรา สาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยว โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เปลือกลำไย

ผลของการแยกเชื้อ พบว่าสามารถแยกเชื้อราได้ 14 ชนิด จากกิ่งยอดในช่วงก่อนการแทงช่อดอก 13 ชนิด จากช่อดอกในช่วงออกดอก 11 ชนิด จากช่อผลในช่วงติดผลอ่อน และ 9 ชนิด จากส่วนต่าง ๆ ของผลในช่วงเก็บเกี่ยว เชื้อที่แยกพบทุกช่วงทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว มี 11 ชนิด ได้แก่ Aspergillus niger., A. flavus, Colletotrichum sp., Fusarium sp., Lasiodiplodia theobromae, และ Pestalotiopsis sp. เชื้อที่ไม่สามารถระบุชื่อใน sphaeropsidaceae 1 ชนิด และใน Deuteromycetes vud 4 ชนิด เชื้อที่พบก่อนการเก็บเกี่ยวเท่านั้นมี 6 ชนิดได้แก่ Alternaria sp., Botrytis sp., Cladosporium sp., Chaetomium sp. Curvularia sp. และ Nigrospora sp. และช่วงหลังเก็บเกี่ยวเท่านั้นมี 1 ชนิด ได้แก่ Rhizopus sp.

และจากการทดสอบเพื่อหาชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคหลังการเก็บเกี่ยวโดยการนำเชื้อราที่แยกได้ทั้งหมดมาปลูกลงบนชั้วผลของลำไยจำนวน 3 ชุดทดลองคือ ชุดทดลองที่ 1 หลังจากปลูกเชื้อแล้วนำไปเก็บที่ 5oC ทันที ชุดทดลองที่ 2 หลังจากปลูกเชื้อแล้ว 24 ชั่วโมง นำไปเก็บที่ 5oC และชุดทดลองที่ 3 ปลูกเชื้อรา แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (28 ± 2oC)

พบว่าทุกเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Lasiodiplodia theobromae และ Pestalotiopsis sp. สามารถทำให้เปลือกของลำไยทั้ง 3 ชุดทดลอง เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเร็วขึ้น และทำให้ลำไยชุดทดลองที่ 1 เน่าภายใน 22 วัน ชุดทดลองที่ 2 เน่าภายใน 18 วัน และชุดทดลองที่ 3 เน่าภายใน 6 วัน ซึ่งเร็วกว่าชุดควบคุมและลำไยที่ปลูกด้วยเชื้อรา ชนิดอื่นประมาณ 4 วัน