บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตแซนต่อการควบคุมโรคและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้และเขียวเสวย

วิเชียร เลี่ยมนาค

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541. 118 หน้า.

2541

บทคัดย่อ

ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตแซน ต่อการควบคุมโรคและคุณภาพ หลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ และเขียวเสวย

จากการทดลองเคลือบผิวผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้และเขียวเสวยด้วยไคโตแซนความเข้มข้น 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.00 % (น้ำหนัก/ปริมาตร) แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 13oซ (ความชื้นสัมพัทธ์ 95 ± 5%) และ 25oซ (ความชื้นสัมพัทธ์ 90 ± 3%) พบว่าการเคลือบผิวผลมะม่วงด้วยไคโตแซนความเข้มข้นตั้งแต่ 0.50 % ขึ้นไป ช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนักและการเปลี่ยนแปลงสีผิวของผลมะม่วงทั้ง 2 พันธุ์ได้ อย่างไรก็ตามผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่เคลือบผลด้วยไคโตแซนที่ความเข้มข้น 0.75 และ 1.00 % และเก็บรักษาไว้ที่ 25oซ เป็นเวลา 2 วัน ผลเกิดการสุกที่ผิดปกติ โดยสีผิวยังคงมีสีเขียว แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองซีด นิ่มและมีกลิ่นหมัก ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบชิม ส่วนผลที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 13oซ ทุกชุดทดลองมีการเปลี่ยนแปลงสีผิวเล็กน้อยและเมื่อนำมาไว้ที่อุณหภูมิ 25oซ พบว่าชุดที่เคลือบด้วยไคโตแซน 0.50 % มีการสุกเกิดขึ้นได้แต่สีผิวของผลยังมีสีเขียวอยู่ ในขณะที่ชุดที่เคลือบด้วยไคโตแซน 0.75 และ 1.00 % เกิดการสุกที่ผิดปกติ เช่นเดียวกับที่พบในผลที่เคลือบผิวแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25o

สำหรับการเคลือบผลมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยด้วยไคโตแซน 0.50, 0.75 และ 1.00 % แล้วเก็บรักษาไว้ที่ 25oซ พบว่าความแน่นเนื้อของผลมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยมีค่าลดลงต่ำกว่าการยอมรับในแง่รับประทานผลดิบภายใน 6 วัน แต่เมื่อเก็บรักษาไว้ที่ 13oซ เป็นเวลา 16 วัน พบว่า ไคโตแซนที่ความเข้มข้นข้างต้นสามารถชะลอการลดลงของความแน่นเนื้อและการเกิดโรคได้ดีกว่าชุดทดลองอื่น ๆ

เมื่อทดสอบผลของสารไคโตแซนที่ความเข้มข้น 0.50 % ในอาหารวุ้นกับการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides พบว่าไคโตแซนไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย