บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวของถั่วเหลือง

ชัยธวัช จารุทรรศน์

วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540. 62 หน้า.

2540

บทคัดย่อ

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยโรพืชหลังการเก็บเกี่ยวของ ถั่วเหลือง

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวของถัวเหลือง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการวินิจฉัยโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวของถั่วเหลือง สำหรับนักวิจัย นักวิชาการ หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสนใจ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวประกอบด้วยระบบการทำงาน 2 ระบบ กล่าวคือ ระบบแรก Authoring System เป็นเครื่องมือที่มีไว้สำหรับบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านโรคพชเป็นอย่างดี ใช้สำหรับการเพิ่ม/ลบ/เปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล รายละเอียดของโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวของถั่วเหลือง การเพิ่ม/ลบรายการตัวเลือกหรือคีย์เวิร์ดสำหรับการวินิจฉัยซึ่งประกอบไปด้วย 1 กลุ่มได้แก่ ชื่อพืช สายพันธุ์ ส่วนของพืชที่เป็นโรค รูปร่างแผล สีแผล อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ พืชอาศัย ลักษณะเด่น ภาพอาการโรค และภาพสาเหตุโรค และการกำหนดวิธีการหรือแนวทางการวินิจฉัยของแต่ละโรค โดยการนำรายการตัวเลือกหรือคีย์เวิร์ดทั้ง 11 กลุ่มมากำหนดให้เป็น combinations ต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละโรคสามารถกำหนดได้หลาย Combonations ระบบที่สอง Diagnose System เป็นเครื่องมือสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางโรคพืชมากนัก โดนำตัวอย่างโรคพืชมาวินิจฉัยโรคกับโปรแกรมนี้ ซึ่งผลการวินิจฉัยสามารถแสดงออกได้ทั้งทางจอภาพและเครื่องพิมพ์ทั่ว ๆ ไป

ผลการทดสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับผู้ทดสอบที่ได้คัดเลือกไว้ปรากฏว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 82.22 เมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโดยไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักวิชาการเกษตร (พืชไร่-นา) ซึ่งจะมีความแม่นยำเฉลี่ยเท่ากับ 86.67 ซึ่งความแม่นยำของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีความแปรผันแปรผันตามปริมาณ Combinations ของแต่ละโรค