บทคัดย่องานวิจัย

ความสัมพันธ์ระหว่างความแก่และสายพันธุ์กับปริมาณสารต้านทานโรคแอนแทรกโนสในผิวมะม่วง

ระจิตร จุธากรณ์

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536. 107 หน้า

2536

บทคัดย่อ

การควบคุมการเน่าเสียของผลลำไย (Dimocarpus longan Lour spp. Longan Var. Longan) หลังการเก็บเกี่ยวด้วยสารอะเซทัลดีไฮด์

จากการศึกษาอิทธิพลของสารอะเซทัลดีไฮด์ต่อการเน่าเสียของผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยว โดยผลลำไยด้วยสารอะเซทัลดีไฮด์ที่ปริมาตรต่าง ๆ หรือที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ในกล่องพลาสติกปิดสนิท ปริมาตร 8,000 ลบ.ซม. และการจุ่มด้วยสารอะเซทัลดีไฮด์ชุดควบคุมใช้น้ำและ/หรืออากาศในแต่ละชุดการทดลองมี 3 ซ้ำ ๆ ละ 30 ผล (น้ำหนักประมาณ 390 กรัม) จากนั้นนำผลลำไยแต่ละชุดไปเก็บไว้ที่ 20 องศาเซลเซียส พบว่าการใช้สารอะเซทัลดีไฮด์ปริมาตร 10 ลบ.ซม. เป็นเวลา 9 ชั่วโมง หรือการใช้สารเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ นาน 8 ชั่วโมง มีผลในการควบคุมโรคจากเชื้อราของผลลำไยพันธุ์ดอ ในขณะที่การใช้สารเข้มข้น 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง หรือการจุ่มผลในสารละลายเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที มีผลควบคุมโรคจากเชื้อราของผลลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวได้

จากการสำรวจเชื้อราของผลลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวหลังการเก็บเกี่ยวที่เปลือกด้านนอกพบเชื้อ Aspergillus flavus, Aspergillus niger, Fusarium sp. และ yeast ที่เปลือกด้านในพบเชื้อ Lasiodiplodia sp., Phomopsis sp., Fusarium sp. และ Curvularia sp. ที่ขั้วภายในผลพบเชื้อ Aspergillus niger, Lasiodiplodia sp., Fusarium sp. และเชื้อราในกลุ่ม unknown ภายในเมล็ดพบเชื้อ Pestalotiopsis sp. และเชื้อราในกลุ่ม unknow ภายหลังการให้สารอะเซทัลดีไฮด์ในรูปสารรมความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ 12 ชั่วโมง และ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือที่ความเข้มข้นมากกว่านี้กับผลลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว พบว่าสารอะเซทัลดีไฮด์มีผลในการควบคุมการเจริญของเชื้อ Fusarium sp. ที่ผิวเปลือกด้านนอก เชื้อ Lasiodiplodia sp. ที่เปลือกด้านในผลและควบคุมเชื้อ A. niger ที่ขั้วภายในผล รวมทั้งมีผลควบคุมเชื้อ Pestalotiopsis sp. ภายในเมล็ด

จากการศึกษาผลของสารรมอะเซทัลดีไฮด์ต่อการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Lasiodiplosia sp., Fusarium sp., Pestalotiopsis sp., Curvularia sp. และ Phomopsis sp. บนอาหาร PDA ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส โดยใช้สารอะเซทัลดีไฮด์ที่ความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ 12 ชั่วโมง หรือที่ความเข้มข้นสูงกว่ามีผลในการฆ่าเส้นใยของเชื้อทั้ง 5 ชนิด และมีผลยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Fusarium sp., Pestalotiopsis sp. และ Curvularia sp. บน slide culture หลังบ่มเป็นเวลา 48 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตามสำหรับการใช้สารอะเซทัลดีไฮด์ยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในทางการค้า เนื่องจากระดับความเข้มข้นที่ให้ผลในการควบคุมเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยวมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลได้แก่ การทำให้สีเปลือกด้านในเข้มขึ้น และเนื้อผลเหลืองเข้มขึ้น รวมทั้งกลิ่นของสารที่ยังคงตกค้างในเนื้อผล