���͢��¢������Է�ҡ����ѧ����������Postharvest Technology Information NetworkPostharvest Technology�����ɵ���������Ҫԡ���͢������纺��촡���ɵ��ҹ�����ŧҹ�Ԩ��

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ตลาดกุ้งก้ามกร้ามสดใส สศก.เปิดผลวิจัยพบโอกาสค้าบานเบอะ/แนะเกษตรกรพัฒนาคุณภาพ-มาตรฐาน

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 53

ตลาดกุ้งก้ามกร้ามสดใส สศก.เปิดผลวิจัยพบโอกาสค้าบานเบอะ/แนะเกษตรกรพัฒนาคุณภาพ-มาตรฐาน

นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ได้ทำการวิจัยเศรษฐกิจการผลิต การตลาด และโลจิสติกส์กุ้งก้ามกราม พบว่า ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงลดลงร้อยละ 8 จากปีที่ผ่านมา มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาน้ำมันและอาหารกุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาลูกพันธุ์กุ้งคุณภาพไม่ดี มีอัตราการรอดตายต่ำ เกษตรกรบางส่วนจึงชะลอการเลี้ยง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคากุ้งที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ ร้อยละ 15 โดยกุ้งขนาด 21-30 ตัว/กก. ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 160 บาท และขนาด 10-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 220 บาท

ส่วนการศึกษาด้านต้นทุนพบว่า ในช่วง 8 เดือน เกษตรกรผู้เลี้ยงมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 22,260 บาท/ไร่/รุ่น ได้กำไรสุทธิ 14,447 บาท/ไร่/รุ่น หรือ 67 บาท/กก. ในส่วนด้านการตลาดพบว่า ผลผลิตจะถูกส่งไปที่ร้านอาหารถึงร้อยละ 70 ต้นทุนการตลาดส่วนใหญ่เป็นค่าขนส่งกุ้ง ซึ่งต้องให้ออกซิเจน การควบคุมอุณหภูมิของน้ำ ค่าน้ำมันและค่าแรงงานในการดูแลระหว่างการขนส่งเพื่อไม่ให้กุ้งตาย ส่วนในระบบตลาด พบว่า แพกุ้งยังได้รับกำไรสูงสุดถึง 31 บาท/กก. พ่อค้าขายส่งได้กำไร 11 บาท/กก. และพ่อค้าขายปลีกได้กำไร 21 บาท/ กก.

ด้านรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการที่เหมาะสม พบว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนาไม สามารถลดการสูญเสียอาหารและปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดจากการหมักหมมของเศษอาหารลงได้ เพราะกุ้งก้ามกรามจะกินเศษอาหารที่ร่วงลงสู่พื้นบ่อ ส่วนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลาทับทิม สามารถวางกระชังปลาทับทิมในบ่อเดียวกับกุ้งก้ามกรามได้เช่นกัน เนื่องจากกุ้งก้ามกรามจะหากินและอาศัยอยู่ก้นบ่อ

นางนารีณัฐกล่าวอีกว่า กุ้งก้ามกรามนับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและมีช่องทางการตลาดที่สดใส ถึงแม้จะเป็นอาหารที่มีราคาแพงแต่กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง หากเกษตรกรสามารถพัฒนาผลผลิตกุ้งที่มีคุณภาพและขนาดตามที่ตลาดต้องการได้ คาดว่าจะเป็นสินค้าที่มีโอกาสที่ดีท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=200553

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology