���͢��¢������Է�ҡ����ѧ����������Postharvest Technology Information NetworkPostharvest Technology�����ɵ���������Ҫԡ���͢������纺��촡���ɵ��ҹ�����ŧҹ�Ԩ��

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

โมน่าไรซ์ ผลิตไข่ไก่คอเลสเตอรอลต่ำ

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 53

โมน่าไรซ์ ผลิตไข่ไก่คอเลสเตอรอลต่ำ ปีที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าว “การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยประจำปี 2552” โดยมุ่งเน้นคัดเลือกนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวไทย รวมทั้งกระบวนการผลิตที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับนวัตกรรมอุตสาหกรรมข้าว ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทย

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวว่า ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในหกประเทศที่ผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก การส่งเสริมเรื่องข้าวด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงเป็นเรื่องที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

“ที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญด้านเกษตรกรรมและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยเร่งปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาด และการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค หากมีการนำนวัตกรรมเข้าไปแทรกเสริมในหน่วยธุรกิจแล้ว จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยได้อีกมาก อีกทั้งช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวยังมีโอกาสขยายตัวสูง โดยในปี 2551 มีปริมาณการผลิตรวมทั้งหมด 530,000 ตัน มูลค่าตลาดในประเทศ 9,300 ล้านบาท มูลค่าตลาดต่างประเทศ 5,520 ล้านบาท” ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าว


สำหรับความเป็นมาของโครงการจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยนั้น สนช. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมข้าวไทยบนฐานความรู้และได้ใช้นโยบายการสร้างนวัตกรรมข้าวไทยในเชิงรุก โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิตและการแปรรูป เพื่อให้ข้าวไทยสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ จึงกำหนดให้การพัฒนานวัตกรรมจากข้าวไทย เป็นหนึ่งในโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ สาขาธุรกิจชีวภาพ ตามแผนยกระดับนวัตกรรมของประเทศของ สนช. โดยมีตัวอย่างนวัตกรรมจากข้าวไทยที่ผลิตสู่เชิงพาณิชย์แล้ว เช่น ข้าวหุงสุกเร็ว ข้าวกล้อง งอกกาบาไรซ์ แป้งฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า ฯลฯ ซึ่งผลจากการศึกษาข้าวไทยในตลาดโลก พบว่า ข้าวไทยมีคุณภาพสูงมากในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ สนช. จึงได้ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยฯ ให้การสนับสนุนการพัฒนาโครงการนวัตกรรมผลิตข้าวไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้องค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรหลักของประเทศ

“โมน่าไรซ์” (Mona Rice) อาหารเสริมสำหรับไก่ไข่ นวัตกรรมใหม่การผลิตไข่ไก่คอเลสเตอรอล ต่ำ ผลงานการค้นคว้าและวิจัยของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นำโดย ศ.ดร.บุษบา ยงสมิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ ดร.สุภาพ อิสริโยดม คณะเกษตรฯ ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดนวัตกรรมข้าวปี 2552

โมน่าไรซ์ คือผลิตภัณฑ์ข้าวหมักจากเชื้อราโมแนสคัส เป็นเชื้อราที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในประเทศแถบตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น โดยนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา โมน่าไรซ์สามารถให้ผลผลิตไข่ไก่คอเลสเตอรอลต่ำ ที่มีไข่แดงสีเหลืองสดตรงตามความต้องการของตลาด โดยสามารถลดคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 20% เมื่อเสริมในอาหารที่มีความเข้มข้น 0.5% และอาจลดได้ถึง 40% ถ้าเสริมในอาหารที่ความเข้มข้น 2.5%

โมน่าไรซ์ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100% จึงมีความปลอดภัยสูง ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยแล้ว สามารถใช้แทนสารสังเคราะห์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและเป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในประเทศ คือปลายข้าวหอมมะลิ อีกทั้งยังมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีก เช่น สีผสมอาหาร เครื่องสำอางและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์โมน่าไรซ์ อยู่ระหว่างการพัฒนาโรงงานต้นแบบเพื่อขยายขนาดการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับอุตสาหกรรมคาดว่าจะผลิตออกจำหน่ายได้ประมาณกลางปี 2553.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=339&contentID=47262

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology