���͢��¢������Է�ҡ����ѧ����������Postharvest Technology Information NetworkPostharvest Technology�����ɵ���������Ҫԡ���͢������纺��촡���ɵ��ҹ�����ŧҹ�Ԩ��

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง' ต้องจัดการเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 53

'เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง' ต้องจัดการเร่งด่วน
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง” มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งทำให้เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของศัตรูพืชชนิดนี้ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังหลายพื้นที่ต้องต่อสู้อย่างหนักกับเพลี้ยแป้งที่สามารถแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการติดไปกับท่อนพันธุ์ที่ขนย้ายจากแหล่งที่มีการระบาดไปยังแหล่งปลูกอื่น อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ปลูกมันสำปะหลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงทำ “โครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง” เพื่อเร่งควบคุมพื้นที่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดก่อนที่จะแพร่ขยายเป็นวงกว้างและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายกระทบต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยได้ในอนาคต

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้แพร่ระบาดรุนแรงในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก และ จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมพื้นที่ระบาดประมาณ 600,000 ไร่ ซึ่งคาดว่าการระบาดจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูแล้งนี้และ ยังคาดว่าจะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังของประเทศลดลง คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท

สำหรับ มาตรการเร่งด่วนกำจัดเพลี้ยแป้ง มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พบการระบาดรุนแรง โดยจัดตั้ง คณะทำงานและหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง 40 หน่วย เพื่อจัดการรณรงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเร่งกำจัดเพลี้ยแป้งในทุกพื้นที่พร้อมเพรียงกัน โดยมันสำปะหลังอายุ 1-8 เดือน รณรงค์ให้เกษตรกรตัดยอดมันสำปะหลังและฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งหลังตัดยอด ได้แก่ สารไทอะมีโทแซม 25% WP อัตราการใช้ 8 กรัม/น้ำ 80 ลิตร/ไร่ หรือ สารไวท์ออยล์ 67% อัตราการใช้ 200 ซีซี/น้ำ 80 ลิตร/ไร่ ส่วนมันสำปะหลังช่วงระยะเก็บเกี่ยว คือ อายุ 8 เดือนขึ้นไป รณรงค์ให้เกษตรกรจัดการเศษซากยอด ใบ กิ่ง และต้นมันสำปะหลังหรือตัดยอดในกรณีที่ยังไม่เก็บเกี่ยว และฉีดพ่นสารเคมีบนท่อนพันธุ์ที่ยังเก็บรักษาไว้ในแปลงด้วย ซึ่งมีเป้าหมายพ่นสารเคมีในแปลงที่ระบาดรุนแรง พื้นที่ประมาณ 400,000 ไร่

นอกจากนั้น ยังมีแผนเร่งรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกร เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาดและปราศจากเพลี้ยแป้ง หรือก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารไทอะมีโทแซม 25% WP อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 5-10 นาที ซึ่งจะสามารถป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้ประมาณ 1 เดือน พื้นที่เป้าหมายไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่

ส่วนมาตรการระยะยาว (เฝ้าระวัง) การระบาดของเพลี้ยแป้ง โครงการฯเน้น ให้มีการสำรวจติดตามสถานการณ์อย่าง สม่ำเสมอและใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้งในพื้นที่ 45 จังหวัด ที่ปลูกมันสำปะหลัง รวม 7.7 ล้านไร่  ขณะเดียวกันยังจะเร่งถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการจัดการเพลี้ยแป้งให้เจ้า หน้าที่ศูนย์บริหารศัตรูพืช 327 คน และเกษตรกร 17,160 คน พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและขยาย ศัตรูธรรมชาติควบคุมเพลี้ยแป้ง ได้แก่ แมลงช้างปีกใส 4.4 ล้านตัว และ แตนเบียน (Anagyrus lopezi) จำนวน 2.7 ล้านตัว ปล่อยในพื้นที่ที่มีการระบาด

อีกทั้งยัง จัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 572 ศูนย์ เพื่อจัดทำแปลงสำรวจสถานการณ์เพลี้ยแป้งในพื้นที่ศูนย์ละ 1 แปลง ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานของเกษตรกรข้างเคียงศูนย์ฯ และยังส่งเสริมให้ศูนย์ฯ ผลิตและขยายศัตรูธรรมชาติให้เพียงพอที่จะควบคุมเพลี้ยแป้งในพื้นที่ระบาด ที่สำคัญได้เน้นให้เกษตรกรตรวจสอบท่อนพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้าย โดยชุมชน รวมทั้งก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีตามคำแนะนำและยึดหลักวิชาการ ซึ่งคาดว่าทั้ง 2 มาตรการจะสามารถช่วยควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งใน แหล่งปลูกมันสำปะหลัง 45 จังหวัด พื้นที่ 7.7 ล้านไร่ และยังช่วยลดความเสียหายของผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ หน่วยปฏิบัติการพิเศษกำจัดเพลี้ยแป้ง หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด และศูนย์บริหารศัตรูพืช(ใกล้บ้าน).

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 27 มกราคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=345&contentID=44980

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology