͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

การปลูกมะนาวโดยใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 53

การปลูกมะนาวโดยใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ ในแวดวงของนักวิชาการเกษตรและเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวในเชิงพาณิชย์ต่างก็ยอมรับกันว่า มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ (พันธุ์แป้นดกพิเศษมีลักษณะผลและคุณภาพเหมือนกับพันธุ์แป้นรำไพทุกประการ แต่ผลผลิตดกกว่า 4-5 เท่า ในอายุต้นที่เท่ากันและมีการติดผลเป็นพวง) เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการผลผลิตมากที่สุด เนื่องจากพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่าย ขนาดของผลค่อนข้างโต เปลือกผลบางและมีปริมาณน้ำในผลมาก มีอายุตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ที่สำคัญมะนาวทั้ง 2 สายพันธุ์ดังที่ได้กล่าวมาสามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่ายมาก ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานับเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวที่สามารถขายผลผลิตได้ราคา แพงและในช่วงเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมาราคามะนาวขนาดผลใหญ่สุดขายจากสวนได้ราคาถึงผลละ 4-5 บาท เมื่อขายถึงผู้บริโภคมีราคาถึงผลละ 8-10 บาท


ที่ผ่านมาในอดีตการปลูกมะนาวของเกษตรกรไทยนิยมปลูกโดยใช้กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำโดยคิดว่าต้นเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว โดยไม่ได้นึกถึงปัญหาในเรื่องของระบบรากที่ไม่แข็งแรงเพราะมีแต่รากฝอย เมื่อต้นมะนาวเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่มักจะพบปัญหา ว่าต้นมะนาวทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่ภาระเลี้ยงผลมาก อีกทั้งกิ่งตอนมะนาวเกือบทั้งหมดที่ขยายพันธุ์มาปลูก มักจะมีโรคไวรัสทริสเทซ่าและโรคกรีนนิ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ต้นมะนาวทรุดโทรมเร็ว ผลผลิตต่ำและมีอายุสั้นลง อีกทั้งยังพบปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าและรากเน่าได้ง่าย มีงานวิจัยจากภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตปทุมธานี ได้มีการศึกษาถึงอิทธิพลของต้นตอส้มบางชนิดที่มีต่อการเจริญเติบโตของมะนาว พันธุ์แป้นรำไพด้วยวิธีการนำกิ่งมะนาวพันธุ์แป้นรำไพมาเสียบยอดบนต้นตอส้ม ต่างประเทศ ผลจากศึกษาและวิจัยพบว่ากิ่งพันธุ์มะนาวพันธุ์แป้นรำไพที่เสียบยอดบนต้นตอส้มทรอยเยอร์ (Troyer) มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด กิ่งพันธุ์มะนาวแป้นรำไพที่เสียบยอดไปมีการเจริญเติบโตสูงสุดในด้านความยาว กิ่งแขนง เทคนิคในการเสียบยอดให้ใช้ต้นตอส้มทรอยเยอร์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ตัดยอดต้นตอส้มให้สูงจากพื้นดินประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นนำกิ่งมะนาวพันธุ์แป้นรำไพหรือแป้นดกพิเศษเสียบยอดด้วยวิธีการผ่า ลิ่มให้แผล มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ยอดที่เสียบจะแตกยอดใหม่ออกมา


เป็นที่ทราบกันดีว่าในการปลูกมะนาวในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้ตลาดมีความต้องการมะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษมากที่สุด และการเลือกใช้กิ่งพันธุ์มะนาวได้เปลี่ยนจากการใช้กิ่งตอนมาใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ เนื่องจากต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงและอายุยืนยาวกว่าปลูกด้วยกิ่งตอน.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 กรกฎาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=81023

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology