͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

การปลูกพริกกะเหรี่ยงในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 53

การปลูกพริกกะเหรี่ยงในประเทศไทย อาจจะกล่าวได้ว่าพริกกะเหรี่ยงเป็นวัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงก็ว่าได้ ถึงกับมีคำกล่าวว่า “มีข้าว มีพริก มีฟืน ไม่ต้องมีเงิน” ก็อยู่ได้ หลายคนเคยรับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำพริกกะเหรี่ยง แต่ไม่ทราบว่าพริกกะเหรี่ยงคือพริกอะไร


พริกกะเหรี่ยงไม่ใช่พริกขี้หนูสวน ในธรรมชาติพริกขี้หนูสวนจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ปลูกที่ร่ม รำไรในขณะที่พริกกะเหรี่ยงชอบแสงแดดจัดการปลูกพริกกะเหรี่ยงของคนกะเหรี่ยงจะปลูกแบบพืชไร่โดยการเอาเมล็ดพริกผสมกับเมล็ดพืชอื่น ๆ อาทิ เมล็ดฟัก, แฟง, แตง กวา ฯลฯ หว่านในไร่หลังจากที่หยอดเมล็ดข้าวไปแล้วเมล็ดข้าวงอกก่อนและเป็นร่มเงา ให้ต้นกล้าผักซึ่งรวมถึงต้นกล้าพริกด้วย ระหว่างที่รอต้นข้าวให้ผลผลิตชาวกะเหรี่ยงจะได้กินผักชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จต้นพริกกะเหรี่ยงอยู่ในระหว่างออกดอกและติดผลพอดี ชาว  กะเหรี่ยงทยอยเก็บเกี่ยวพริกกะเหรี่ยงได้ต่อเนื่องถึง 5-6 เดือน

ชาวกะเหรี่ยงบอกถึงคุณลักษณะที่เด่นเฉพาะตัวของพริกกะเหรี่ยงดังนี้ “ต้องปลายแหลม ก้นโต สีส้มจัด (ไม่แดงคล้ำ) เผ็ดแต่ไม่แสบลิ้นและมีกลิ่นหอม” พริกกะเหรี่ยงว่ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีลำต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถเก็บผลผลิตติดต่อกันได้ระยะเวลานาน นิยมแปรรูปเป็นพริกแห้งโดยใช้พริกกะเหรี่ยงสด 3 กิโลกรัม เมื่อเป็นพริกแห้งได้น้ำหนักเฉลี่ย 1-1.3 กิโลกรัม ปัจจุบันโรงงานที่ผลิตซอสพริกนิยมนำเอาพริกกะเหรี่ยงแห้งไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียวเพื่อเพิ่มความเผ็ดและมีกลิ่นหอม


ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง ได้กล่าวว่า การปลูกพริกกะเหรี่ยงของเกษตรกรในเขตพื้นที่ ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกพริกกะเหรี่ยงแซมหรือปลูกหมุนเวียนร่วมกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เป็นต้น

โดยสามารถปลูกพริกได้เพียงละ 1  ครั้งเท่านั้น ศักยภาพในการผลิตพริกกะเหรี่ยงของเกษตรกรในเขต ต.คีรีราษฎร์ สามารถผลิตพริกได้เฉลี่ยเพียง 200-300 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีผลผลิตออกในแต่ละปีเฉลี่ยวันละ 200,000 กิโลกรัม จากการดำเนินงานนักวิจัยได้รวบรวมพันธุ์พริกพื้นเมืองจนได้พริกสายพันธุ์ดี 14 สายพันธุ์

หลังจากนั้นทำการทดสอบและประเมินพันธุ์โดยนักวิจัยและภาคเอกชน ผลสำเร็จที่ได้ คือ “พริกพันธุ์คีรีราษฎร์ 1” ที่สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ และให้ผลผลิตสูงมากกว่า 1.5 ตันต่อไร่ และได้ส่งเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปเพาะและเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์เพื่อการ ผลิตและจำหน่ายเป็นพริกพันธุ์การค้าในระยะต่อไป.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=568&contentID=79905

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology