͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

พด.ตั้งธงวิจัยสะท้านโลก ปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์สร้างนวัตกรรมใหม่ "โรงปุ๋ยในดิน" โดยตรง

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 53

พด.ตั้งธงวิจัยสะท้านโลก ปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์สร้างนวัตกรรมใหม่ "โรงปุ๋ยในดิน" โดยตรง

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ผลการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลเป็นที่น่าพอใจตามลำดับ เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และนำมาต่อยอดขยายผลใช้มากขึ้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารชีวภาพ เป็นผลให้ลดใช้สารเคมีลง ซึ่งจากผลสำรวจวิจัยโดยสุ่มจากเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 4,400 ตัวอย่างครอบคลุม 76 จังหวัดเมื่อปี 2552 พบว่า จากเดิมเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี เฉลี่ยไร่ละ 57.88 กิโลกรัม แต่หลังใช้เทคโนโลยีชีภาพของกรมพัฒนาที่ดินแล้ว มีการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยไร่ละ43.36 กิโลกรัม หรือลดลงเฉลี่ยไร่ละ 14.53 กิโลกรัม คิดเป็น 25.10%

นายฉลองกล่าวว่า การปรับเปลี่ยนแนวทางจากเกษตรเคมีไปสู่เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรผสมผสานเป็นเรื่องยากที่ท้าทายอย่างยิ่ง เพราะต้องเปลี่ยนทัศนคติวิธีคิดของเกษตรกรไทยที่ติดยึดเกษตรเคมีอย่างเหนียวแน่นยาวนาน

"ต้องยอมรับว่าการใช้เกษตรเคมีสะดวกทุกอย่าง เกษตรกรซื้ออย่างเดียว แต่ต้นทุนสูงมาก ต่างจากเกษตรอินทรีย์ แม้ต้นทุนจะต่ำ ฟื้นฟูบำรุงดินดีและยั่งยืนจริง แต่ยุ่งยาก และใช้ความอดทนในการลงมือมาก จุดหักเหส่วนหนึ่งเกิดจากปุ๋ยเคมีและสารเคมีเกษตรมีราคาแพงมาก เกษตรกรเลยต้องหาทางออกด้วยเกษตรอินทรีย์แทน"

รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินกล่าวว่า ในส่วนการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์จากดิน ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในกระบวนการเกษตรอินทรีย์นั้น กรมพัฒนาที่ดินยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งที่ผ่านมากรมพัฒนาที่ดินกระจายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์สู่ เกษตรกรจำนวนมากภายใต้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.สูตรต่างๆ

นอกจากนั้น ยังเตรียมแผนการพัฒนาอีกขั้นคือการปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีความสามารถ มากขึ้นในการตรึงไนโตรเจนในอากาศ และช่วยสลายฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมในดิน เพื่อให้พืชสามารถนำมาใช้งานได้

"เป็นการยกระดับการพัฒนาจุลินทรีย์อีกขั้น จากเดิมที่ใช้จุลินทรีย์ในดิน แต่ที่จะทำคือปรับปรุงพันธุ์ให้เพิ่มขีดความสามารถมากขึ้น หากสำเร็จเท่ากับสร้างจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างโรงปุ๋ยขึ้นในดินโดยตรง พืชสามารถใช้ได้โดยตรงเลย ตอนนี้เท่าที่ทราบมีบางประเทศกำลังทดลองทำอยู่" นายฉลอง กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 16 กรกฎาคม 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=219417

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology