͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

สร้างชีวิตเกษตรกรให้อยู่รอด จากฉันทนาเลี้ยงปลาในกระชัง

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 53

สร้างชีวิตเกษตรกรให้อยู่รอด จากฉันทนาเลี้ยงปลาในกระชัง

ความผันผวนของราคาสินค้า สร้างปัญหาให้กับเกษตรกร ซึ่งวิธีการลดความเสี่ยง โดยมีภาคเอกชนเข้ามารับหน้าเสื่อแทนจึงเกิดขึ้น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้จัดตั้ง "โครงการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย" มานานกว่า 30 ปีแล้ว


โครงการนี้ก็เพื่อช่วยเหลือและเป็นการประกันรายได้ให้เกษตรกรมีความแน่นอนในการจำหน่ายผลผลิต ซึ่งภาคเอกชนก็ได้รับผลผลิตตรงตามความต้องการนำไปแปรรูปจำหน่ายได้ ก่อให้ เกิดประโยชน์ทั้ง 2ฝ่าย อีกทั้งยังนำไปสู่ผลผลิตที่ดี เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในที่สุด

นายปยุต ศิริวัลลภ ผู้แทนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ บอกถึงขั้นตอนการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการว่า ผู้เข้าร่วมต้องแจ้งความประสงค์กับที่บริษัท คุณสมบัติเบื้องต้นมีเงินสำหรับใช้ในการลงทุน มีความสามารถในการเลี้ยงปลา หลังจากนั้นทาง CPF จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจพื้นที่และสภาพภูมิประเทศจะเอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงปลาในกระชังหรือไม่ โดยข้อกำหนดไว้จะต้องเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและมีน้ำตลอดปี เมื่อเห็นว่าตรงตามคุณลักษณะก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเลี้ยงเป็นรุ่นๆเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

นางบุญนาค เขียวขำ เกษตรกรหมู่ 3 ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เล่าว่า เมื่อก่อนทำนาไม่มีเงินเหลือเก็บ ทางซีพีเอฟมาชักชวนให้เลี้ยงปลาในกระชัง เพราะมีรายได้แน่นอน จึงตัดสินใจกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เป็นจำนวนเงินทั้งสิน 200,000 บาท โดยเริ่มเลี้ยงปลา เมื่อ พ.ศ.2548 เริ่มแรกมี กระชังทั้งหมด 8 กระชัง แล้วก็คืนทุนในเวลา 2 ปี จึงขยายไปเรื่อยๆ ปัจจุบันมีกระชังของ ตัวเอง 45 กระชัง มีผลผลิตปลาทับทิมเดือนละ 7 ตัน โดยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 40,000-50,000 บาทต่อเดือน ใช้อาหารปลาในการเลี้ยง ทั้งหมด 460 ลูกต่อเดือน และล่าสุดมีเกษตรกรที่เลี้ยงปลาทับทิมกับซีพีเอฟ ในกลุ่มทั้งหมด 8 ราย มีกระชังทั้งหมด 157 กระชัง

นางดาวเรือง ศรีกระแจะ เกษตรกรเจ้าของกระชังปลาทับทิมจำนวน 60 กระชัง บอกว่า เมื่อก่อนเป็นสาวโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ แถวสมุทรสาคร  มีรายได้เดือนละ 7,000 กว่าบาท ไม่มีเงินเก็บ เงินเดือนที่ได้มาชักหน้าไม่ถึงหลัง ไม่เคยพอใช้ ต้องจ่ายค่าห้องพัก ค่ากับข้าว ค่าใช้จ่ายรายวัน พ่อกับแม่บอกว่าทางตัวแทน จำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในพื้นที่ของซีพีเอฟ มาชวนให้เลี้ยงปลาในกระชัง จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานเข้ามาเลี้ยงปลากับซีพีเอฟ ซึ่งตอนนั้น กู้เงินมา 400,000 บาท โดยเริ่มแรกเลี้ยงทั้งหมด 10 กระชัง สามารถชำระเงินกู้ได้หมดในระยะเวลา 4 ปี

ปัจจุบันอดีตสาวโรงงานคนนี้ มีกระชังของตัวเองทั้งหมด 60 กระชัง ผลผลิตปลาทับทิม เดือนละ 7 ตัน รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อเดือน ใช้อาหารปลาในการเลี้ยง 500 ลูกต่อเดือน มีเกษตรกรที่เข้ารวมกลุ่มกันเลี้ยงปลาทับทิมกับซีพีเอฟ ทั้งหมด 6 ราย รวมกัน 180 กระชัง

ครอบครัวชาวนา และอดีตสาวโรงงาน บอกทิ้งท้ายว่า การเลี้ยงปลากระชังกับซีพีเอฟนั้นไม่ยากเย็นอะไรเลย เพราะตลอดการเลี้ยงมีเจ้าหน้าที่เข้ามาให้คำปรึกษา เมื่อมีปัญหาก็จะเข้ามาช่วยเหลือทันที และที่สำคัญซีพีเอฟไม่ทิ้งเกษตรกรอย่างแน่นอน ดังคำกล่าวที่ว่า "เกษตรกรอยู่ได้ บริษัทก็อยู่ได้" ของประธานธนินท์ เจียรวนนท์

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 14 กรกฎาคม 2553
http://www.thairath.co.th/content/edu/95868

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology