͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

วาง 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาปาล์ม เกษตรมุ่งวิจัยเพิ่มคุณค่าผลผลิต พัฒนาศักยภาพพื้นที่ปลูกเดิม

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 53

วาง 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาปาล์ม เกษตรมุ่งวิจัยเพิ่มคุณค่าผลผลิต พัฒนาศักยภาพพื้นที่ปลูกเดิม

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมันทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารจัดการเชิงนโยบายของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งมีการดำเนินงานผ่านแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มปี 2551-2555 ที่มุ่งการพัฒนาและสร้างสรรค์มูลค่าปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มทั้งระบบอย่างยั่งยืน

โดยการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ได้วาง 5 ยุทธศาสตร์ ไว้รองรับ คือ ยุทธศาสตร์เพิ่มผลิตภาพคุณค่าผลปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการตลาด ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานทดแทน ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาบุคลากร และยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้างต้นมาโดยตลอด

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องผลักดันอย่างจริงจัง คือ การถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ชาวสวนปาล์มน้ำมันได้เรียนรู้ทั้งเชิงวิชาการและภาคปฏิบัติ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ปลูกเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เช่น การส่งเสริมให้ตัดต้นปาล์มเก่าและปลูกปาล์มใหม่ทดแทนเพื่อรักษาระดับผลผลิต และเร่งพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูงสุด เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกแม้ว่าสามารถทำได้แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยที่ผ่านมาได้เข้าไปส่งเสริมในพื้นที่นาร้าง พื้นที่ขาดแคลนน้ำ หรือพื้นที่สวนผลไม้ที่ให้ผลไม่คุ้มค่า

ส่วนการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) คาดว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อปาล์มน้ำมันมากนัก โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้วางแนวทางสำหรับเรื่องดังกล่าวในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาการผลิตปาล์มทั้งระบบให้มีศักยภาพแข่งขันกับตลาดต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งได้ อาทิ มาตรฐานปาล์มน้ำมัน แนวทางการประกันรายได้ของปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพดีเช่นเดียวกับข้าว การจัดตั้งกองทุนปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกับกองทุนยางพารา และบริหารการนำเข้าโดยควรนำเข้าเฉพาะน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภค และกำหนดระยะเวลานำเข้าที่ชัดเจนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาปาล์มภายในประเทศ

สำหรับตัวเลขการส่งออกปาล์มน้ำมันในปี 2552 อยู่ที่ 2 แสนตัน มูลค่า 4,900 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 ที่ส่งออก 5 แสนตัน มูลค่า 16,800 ล้านบาท ส่วนปี 2553 คาดการณ์ว่า สภาพอากาศแห้งแล้ง จะส่งผลให้ให้ผลปาล์มมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มต่ำ เป็นเหตุให้ราคาอาจลดลงด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 8 กรกฎาคม 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=218348

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology