͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เปิด "โรดแม็บ" ลดต้นทุนการผลิต นำร่อง3พืชเศรษฐกิจ "ข้าว-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-มันสำปะหลัง"

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 53

เปิด "โรดแม็บ" ลดต้นทุนการผลิต นำร่อง3พืชเศรษฐกิจ "ข้าว-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-มันสำปะหลัง"

อุปสรรคในการทำการเกษตรของพี่น้องเกษตรประเทศไทยที่ผ่านมา นอกจากจะต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว ปัญหาในด้านต้นทุนการผลิตที่ดีดตัวสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจก็นับเป็นอุปสรรคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งทำให้เกษตรกรไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้

ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรขึ้น เนื่องจากสินค้าเกษตรของไทยส่วนใหญ่ส่งออกไปต่างประเทศ ประกอบกับปัจจุบันมีการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น ทำให้ภาคเกษตรต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ประเด็นสำคัญ คือ ต้นทุนการผลิตต้องถูกกว่าประเทศคู่แข่งในระดับคุณภาพเดียวกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำมาตรการลดต้นทุนการผลิต ในลักษณะนำร่อง 3 สินค้าก่อน คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง โดยมอบรองปลัดกระทรวงเกษตรฯ หัวหน้ากลุ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ติดตามกำกับดูแล และมอบหน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำคำของบประมาณเพื่อเร่งรัดในการดำเนินการตามภารกิจและกิจกรรมโครงการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาในกิจกรรมการผลิตสินค้าเกษตร เกษตรกรยังนำเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมโดยผ่านการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐไป ใช้ไม่มากนัก เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านเงินทุน และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไปสู่เกษตรกรไม่ทั่วถึง และข้อจำกัดด้านอื่นๆ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และแข่งขันกับต่างประเทศได้ยาก ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตรฯ จึงพยายามผลักดันให้มาตรการลดต้นทุนดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้ คือ 1.การทำหมู่บ้านลดต้นทุนตัวอย่าง 2.การทำแปลงเรียนรู้ ตั้งแต่การเตรียมดินเพื่อปลูก การใช้เมล็ดพันธุ์ และการใส่ปุ๋ยตามการวิเคราะห์ค่าดินในอัตราที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม 3.ฝึกอบรม-ถ่ายทอดความรู้ นักวิชาการพบเกษตรกรประชาสัมพันธ์เชิงรุก 4.จัดงาน Field Day เพื่อกระจายผลสู่เกษตรกร และ 5.การติดตามวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นหากดำเนินการตามมาตรการนี้กระทรวงเกษตรฯมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ให้แก่สินค้าเป็นรายชนิด ดังนี้ ข้าว จากต้นทุกการผลิตเดิม8.71 เป็น 7.71 บาท/กิโลกรัม (ลดลง 1 บาท) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากต้นทุกการผลิตเดิม 5.46 เป็น 5.00 บาท/กิโลกรัม (ลดลง 0.46 บาท) และมันสำปะหลัง จากต้นทุกการผลิตเดิม 1.58 เป็น 1.37 บาท/กิโลกรัม (ลดลง 0.21 บาท) ส่วนสินค้าอื่นๆ จะมีการผลักดันให้เกิดโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อลดต้นทุน ทั้งในรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นมาตรการ แผนงาน หรือเป็นกิจกรรมที่อยู่ในงานปกติของหน่วยงาน

สำหรับงบประมาณดำเนินการนั้น คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ปี 2553 - 2555 โดยใช้งบประมาณรวม 3 ปี จำนวนเงินทั้งสิ้น 128.34 ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 2553 จำนวน 20.97 ล้านบาท ปี 2554 จำนวน 82.09 ล้านบาท (ขอสนับสนุนเพิ่ม 75.99 ล้านบาท) และ ปี 2555 จำนวน 25.27 ล้านบาท (ขอสนับสนุนเพิ่ม 19.17 ล้านาท)

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีงบประมาณที่จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ทันทีจำนวน 33.18 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่มีอยู่แล้วโดยเป็นงบกองทุน AFTA 29.82 ล้านบาท และ งบ คชก. 3.36 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ต้องขอสนับสนุนเพิ่มเติมอีกจำนวน 95.16 ล้านบาท โดยไม่รวมเงินกู้ยืม 52.50 ล้านบาท นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะมีการขับเคลื่อนในการจัดมาตรการลดต้นทุนการผลิตเพื่อช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยการผลิต ทั้งในส่วนของเครื่องจักรกล และปุ๋ย เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และนำไปสู่การลดต้นทุนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 2 กรกฎาคม 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=217579

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology