͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'ปาล์มน้ำมัน' ภายใต้พันธกรณีอาฟต้า

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 53

'ปาล์มน้ำมัน' ภายใต้พันธกรณีอาฟต้า "ปาล์มน้ำมัน” เป็นหนึ่งใน 4 ชนิดสินค้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบสูงจากพันธกรณีการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า (AFTA) เนื่องจากการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า หากไทยมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มราคาถูกจากประเทศดังกล่าวปริมาณมาก อาจทำให้ราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศตกต่ำลงได้ ดังนั้นชาวสวนปาล์มน้ำมันจึงควรเร่งปรับลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง เพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้


นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันปี 2553 กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าพื้นที่ให้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านไร่ เนื่องจากสวนปาล์มที่ปลูกใหม่เมื่อปี 2550 ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งปาล์มน้ำมันที่ปลูกทดแทนสวนไม้ผลเก่าในพื้นที่ภาคใต้ เช่น ทุเรียน เงาะ กาแฟ และปาล์มที่ปลูกในพื้นที่นาร้าง และพื้นที่ป่าพรุเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนตลาดได้ ปีนี้ประมาณการว่าจะมีผลผลิตทะลายปาล์มสดรวมกว่า 10.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณ 1.9 ล้านตัน ส่วนสถานการณ์ราคาผลปาล์มสดนั้น คาดว่าจะอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีราคาไม่ต่ำกว่า 3.50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นผลจากการที่กระทรวงพลังงานมีนโยบายปรับการใช้ B2 เป็น B3  และ B5 คาดว่าจะมีความต้องการใช้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น

จากผลการวิเคราะห์ปัญหาการผลิตปาล์มน้ำมันของไทย พบว่า ชาวสวนปาล์ม น้ำมันมีต้นทุนการผลิตสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 2.58 บาทต่อกิโลกรัม โดยสาเหตุหลักมาจากราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เกษตรกร มีการใช้ปุ๋ยในอัตราที่มากเกินความต้องการของพืช ทั้งยังพบว่าโครงสร้างต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน ประมาณ 40% เป็นต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี

สำหรับเทคนิคการลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และเป็นไปตามความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน โดยควรเก็บตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมันส่งตรวจวิเคราะห์แล้ว ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและค่าวิเคราะห์ใบ เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันได้รับธาตุอาหารอย่างเหมาะสมกับความต้องการ หรือเกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ย เคมี ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยลดค่าใช้จ่าย ค่าปุ๋ยเคมีและช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้แก่เกษตรกรได้ นอกจากนั้นเกษตรกรควรเร่งปรับปรุงคุณภาพผลผลิต โดยเก็บเกี่ยวทะลายผลปาล์มที่สุกพอดีส่งโรงงาน หรือยึดตามหลักวิชาการ คือ เก็บเกี่ยวผลปาล์มที่มีสีผิวเปลือกนอกเป็นสีส้มสดและเริ่มมีจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นรอบโคนต้น ประมาณ 10-12 ผลต่อทะลาย ซึ่งจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง และมีส่วนให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มสามารถสกัดน้ำมันได้เปอร์เซ็นต์สูง อันจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มของประเทศลดลงได้


อย่างไรก็ตาม ปี 2553 นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร มีแผนเร่งขับเคลื่อน “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน” โดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของโรงงาน พร้อมช่วยลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรให้ต่ำลงซึ่งจะช่วยให้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรเลือกใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ปลูกทดแทนสวนปาล์มเก่าที่มีอายุมากกว่า 20 ปี หรือปลูกแทนสวนปาล์มผลผลิตต่ำ พร้อมพัฒนาให้รวมกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน และสร้างเครือข่ายการผลิตหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ สนับสนุนให้ร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิต ทั้งยังมุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มแปรรูปปาล์มน้ำมัน เพื่อผลิตไบโอดีเซลชุมชน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อลดรายจ่ายและเสริมรายได้

ภายในปี 2555 คาดว่า เกษตรกรจะได้รับการพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน รวมกว่า 50,000 คน ซึ่งจะผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังคาดว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยจาก 3 ตันต่อไร่ เป็น 3.5 ตันต่อไร่ และสามารถลดต้นทุนการผลิตจาก 1,646 บาทต่อตัน เหลือ 1,500 บาทต่อตัน จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อไร่ ซึ่งน่าจะเป็นช่องทางช่วยให้เกษตรกรสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 31 พฤษภาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=68855

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology