͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

กรมหม่อนไหม เปิดแผนการตลาดเชิงเจาะตลาดใหม่ ตั้งเป้าบุกตลาดญี่ปุ่นส่งออกผ้าไหมสำเร็จรูป

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 53

กรมหม่อนไหม เปิดแผนการตลาดเชิงเจาะตลาดใหม่ ตั้งเป้าบุกตลาดญี่ปุ่นส่งออกผ้าไหมสำเร็จรูป

นายไพโรจน์  ลิ้มจำรูญ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดส่งออกไหมที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่จะเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเจาะตลาดใหม่ เพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศมากขึ้นขณะนี้ทางกรมกำลังวิเคราะห์ตลาดญี่ปุ่น เพื่อส่งออกผ้าไหมสำเร็จรูปไปจำหน่าย  เนื่องจากค่าตัดเย็บในญี่ปุ่นจะมีราคาสูงมากจึงไม่นิยมผ้าผืน  เบื้องต้นจะมีการวิเคราะห์ว่าคนญี่ปุ่นต้องการผลิตภัณฑ์ประเภทใดบ้าง  เช่น ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ ชุดนอน หรือเสื้อสำเร็จรูป  เป็นต้น  สำหรับตลาดในกลุ่มสหภาพยุโรปนั้น โดยจากการตรวจสอบก่อนหน้านี้ พบว่าทางญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มีความนิยมไหมหัตถกรรม มีเรื่องของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และวัฒนาธรรมที่มีการทอลงบันผ้าไหมด้วย จึงเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ได้มาหารือเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ที่จะเข้าไปยังสหภาพยุโรป โดยขณะนี้กรมหม่อนไหมได้ขอจดทะเบียนและผ่านการจดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แล้วจำนวน 3 ชนิด  คือ  ผ้า แพรวากาฬสินธุ์  ผ้ามัดหมี่ชนบท และผ้าไหมยกดอกลำพูน ยังเหลืออีก 7 ชนิด กำลังอยู่ในระหว่างการประสานงานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ทั้งนี้ กรมหม่อนไหมจะเร่งพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ  โดยเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตให้กับเกษตรกร ทั้งในเรื่องของหีบห่อ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการพัฒนาลวดลายให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดของแต่ละประเทศ ทั้งนี้เพราะหากรายได้จากการผลิตหม่อนและไหมไม่เป็นที่จูงใจ จะทำให้เกษตรกรลดน้อยถอยลง

“ในส่วนของตลาดสหรัฐอเมริกามีความต้องการไหมในงานหัตถกรรม หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมผ้าไหม ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่และมีการบริโภคค่อนข้างสูง เป็นที่น่ายินดีว่าในทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ได้ใช้ผ้าไหมไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วย สำหรับตลาดอื่นๆ พบว่ามีความต้องการสินค้าไหมอีกมาก แต่การผลิตยังมีไม่เพียงพอ  จึงต้องทำการศึกษาและกำหนด Road Map เพื่อสร้างเส้นทางการตลาดที่ชัดเจน  และต้องปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดแต่ละประเทศ ขณะเดียวกันต้องเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและผู้แปรรูป เพื่อผลิตงานให้ตรงตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ดี  สิ่งที่กรมหม่อนไหมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ มาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับกรม 4 ดวง  คือ นกยูงสีทอง นกยูงสีเงิน นกยูงสีน้ำเงิน และนกยูงสีเขียว  เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทย ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายไพโรจน์  กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 31 พฤษภาคม 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=213306

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology