͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ใช้กากตะกอนน้ำเสีย-ขี้แป้ง เติมธาตุอาหารลงดินแทนปุ๋ยฯ

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 53

ใช้กากตะกอนน้ำเสีย-ขี้แป้ง เติมธาตุอาหารลงดินแทนปุ๋ยฯ

ปัจจุบันยางพาราเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆของประเทศ หากเทียบปริมาณผลผลิตต่อไร่ กลับพบว่าเกษตรกรบ้านเรากรีดน้ำยางได้ปริมาณน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในด้านต้นทุนที่ใช้ดูแลระหว่างต้นยางชำถุง จนกระทั่งเปิดหน้ายาง


ฉะนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมคณะ ร่วมทำวิจัย การทดแทนปุ๋ยด้วยกากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งเพื่อการปลูกยางพาราขึ้นในพื้นที่ปลูกยางตำบลไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยได้รับการสนับสนุนทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รศ.ดร.อรวรรณ เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เรายังมีผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเกษตรกรใส่ปุ๋ยน้อยกว่าอัตราที่แนะนำ ส่งผลให้ธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้เป็นอาหารทำให้การเจริญเติบโตช้า อีกทั้งการกรีดยางจะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารที่ไหลไปกับน้ำยาง

และเพื่อเป็นการลดต้นทุน เพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกร ทีมวิจัยจึงนำกากตะกอนน้ำเสีย รวมทั้งขี้แป้งมาทำการศึกษาวิเคราะห์ให้ผลว่า กากตะกอนน้ำเสียรวมทั้งขี้แป้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานที่ผ่านขบวนการบำบัด จะมีธาตุปุ๋ย NPK อินทรียวัตถุที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืชได้เท่าเทียมกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นการเติมอินทรียวัตถุโดยใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ เสมือนกับว่าเป็นการ "นำสิ่งที่ได้จากธรรมชาติกลับคืนสู่แหล่งที่มา"

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงาน รศ.ดร.อรวรรณบอกว่า เริ่มตั้งแต่การปลูกต้นกล้ายาง (ต้นตอตา) และการปลูกต้นยางชำถุง โดยเตรียมกากตะกอนน้ำทิ้ง กากขี้แป้ง ในคราวเดียวกัน จากนั้นเตรียมแปลงเพาะกล้ายางโดยใช้รถแทรกเตอร์พลิกดิน 2 ครั้ง ไถพรวน 2 ครั้ง ทำแปลงทดลองขนาด 2x5 เมตร กำหนดแนวปลูกด้วยระยะ 1 เมตร สำหรับปลูกเมล็ดงอก (germinated seed) ระยะห่าง 20 เซนติเมตร

ในขั้นตอนนี้จะมีแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แปลงที่เกษตรกรปลูกโดยใส่ปุ๋ยบำรุงรูปแบบเดิม และแปลงที่ใส่กากตะกอนและขี้แป้ง ซึ่งผ่านขบวนการทำแห้งป้องกันการเกิดราและยังทำให้ส่วนผสมที่ทีมวิจัยคิดค้นสูตรมีความคงที่เหมาะสม จากนั้นบำรุงดูแลรักษาตลอดระยะเวลา 6 เดือน โดยรดน้ำเช้าเย็นให้ดินชุ่ม กำจัดวัชพืช พร้อมวัดการเจริญเติบโตของกล้ายางทุกเดือน ควบคู่กับการเก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการเติมสิ่งทดลองจนกระทั่งกล้ายาง อายุ 6 เดือน พร้อมที่จะติดตาเขียวต้นกล้ายางแล้วจึงเตรียมถุงเพาะชำ โดยใช้ต้นตอซึ่งติดตาเขียวพันธุ์ RRIM 600 ไปปลูกในถุงเพาะชำ โดยแบ่งเปรียบเทียบคือ แปลงที่ 1 การดูแลบำรุงรักษาจะไปตามรูปแบบเดิมอย่างที่เกษตรกรเคยทำกันมา แปลงที่ 2 ใส่ดิน 3 ส่วน/กากตะกอน 1 ส่วน แปลงที่ 3 ใส่ดิน 3 ส่วน/ใส่กากขี้แป้ง 1 ส่วน แปลงที่ 4 ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอน และกากขี้แป้ง อย่างละเท่ากันรวม 1 ส่วน แปลงที่ 5 ใส่ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอนมากกว่ากากขี้แป้งลงดินรวม 1 ส่วน และ แปลงที่ 6 ใส่ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอนน้อยกว่ากากขี้แป้งลงดินรวม 1 ส่วน

ดูแลบำรุงรักษารดน้ำ กำจัดวัชพืชตลอดระยะเวลา 90 วัน เมื่อต้นยางชำถุงอายุ 90 วัน เป็นระยะที่เหมาะสำหรับย้ายต้นยางชำลงหลุมปลูก วัดความสูง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง วัดรัศมีเรือนยอด และเก็บตัวอย่างดิน ซึ่งการวิจัยให้ผลว่า กากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกและการเติบโต รวมทั้งมีศักยภาพทดแทนปุ๋ย สำหรับการปลูกยางพาราตั้งแต่ระยะต้นกล้ายางจนถึงยางชำถุงและสูตรที่มีความเหมาะสมมากคือสูตรที่ใช้ใส่ในแปลงต้นตอติดตาที่ 5

การวิจัยนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ที่สามารถลดต้นทุนอีกทั้งเป็นการวิจัยต้นแบบที่มุ่งการเพิ่มปริมาณอินทรีย วัตถุและแหล่งธาตุอาหารก่อนเวลาเปิดหน้ายางและเพื่อให้ได้ผลที่แน่ชัดใน พื้นที่อื่น ทีมวิจัยแนะนำว่า ก่อนเกษตรกรจะนำไปใช้ควรมีการวิเคราะห์โครงสร้างดินจากแหล่งที่ปลูก กากตะกอนน้ำทิ้งจากแหล่งที่มาด้วยเช่นกัน.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553
http://www.thairath.co.th/content/edu/84798

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology