͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน บ้านยามกาน้อย จ.อุดรธานี

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 53

แปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน บ้านยามกาน้อย จ.อุดรธานี วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่บ้านยามกาน้อย ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2544  ให้จัดทำเป็น “แปลงสาธิตตัวอย่าง” โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ดินที่มีลักษณะดินตื้นปนลูกรัง เพื่อเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรบริเวณใกล้เคียงได้นำไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าว นายโสภาค เพ็งสว่าง ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน เนื้อที่รวม 11 ไร่ 40 ตารางวา เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรพื้นที่โดยรอบต่อไป


นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับเสด็จในครั้งนั้น ได้กรุณาเล่าให้ฟังถึงการดำเนินงานของโครงการนี้ว่า ภายในโครงการฯ ได้มีการศึกษาทดลองปลูกไม้ผล จำนวน 8 ชนิด ประกอบด้วย มะม่วง มะละกอ ส้มโอ มะขามเปรี้ยว ฝรั่ง ขนุน มะพร้าวน้ำหอม และมะกอกน้ำ โดยไม้ผลที่ให้ผลผลิตดี ประกอบด้วย ฝรั่ง ส้มโอ และมะละกอ  นอกจากนี้ได้เริ่มทำการทดลอง เลี้ยงกบพันธุ์บูลฟร็อก ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาดุกและปลานิล ด้านปศุสัตว์ มีการเลี้ยงเป็ดเทศ ไก่พื้นบ้าน และหมูหลุมเพื่อจำหน่าย พร้อมทั้งขยายผลการดำเนินงานด้านเกษตรเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ การขยายพันธุ์ไม้ผล ให้กับนักเรียนและผู้สนใจเป็นประจำทุกเดือน

ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับฟังบรรยายสรุปความเป็นมาและการดำเนินงานต่าง ๆ โดยในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่ในโครงการฯ ให้เป็นแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน พร้อมทั้งขุดสระน้ำ จัดทำแปลงพืชไร่ พืชสวน สร้างคอกสัตว์เลี้ยงและเลี้ยงปลา สำหรับการดำเนินงานระยะต่อไป โครงการฯ ได้กำหนดแผนบำรุงรักษาแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน ให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้เกษตรกรและบุคคลที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ ควบคู่ไปกับนำผลการศึกษาขยายออกสู่ราษฎร และจะเน้นการขยายพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตที่ดีและราษฎรสามารถนำไปต่อยอดได้เอง อันจะเป็นการเพิ่มผลผลิตสร้างรายได้สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการต่อไป นอกจากนี้ได้มีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ หรือที่เรียกกันว่า “ตู้เย็นปลาสด”เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลผลิตที่มีอยู่ในโครงการ สามารถที่จะเลือกนำมาประกอบอาหารได้ตลอดเวลา เพราะมีความสดใหม่ และสะอาดปราศจากสารเคมี เสมือนการนำของที่มีอยู่ในตู้เย็นมาประกอบอาหารได้ทันที  ทั้งนี้ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์มีข้อดี คือน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสามารถนำมาใช้ทดแทนปุ๋ย นำไปรดพืชผักทางการเกษตรได้อีกทางหนึ่ง


“โครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่ บ้านยามกาน้อย อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี เป็นโครงการที่มีหน่วยงานราชการและราษฎรให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมและมาเรียนรู้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากโครงการฯ มีกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง และสถานที่ตั้งอยู่บนถนนหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังกรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่ใช้เส้นทางสายนี้สามารถแวะเข้าเยี่ยมชมโครงการฯ ได้” นายสุวัฒน์ กล่าว

และต่อจากนี้จะมีการศึกษาทดลอง หาพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่มาปลูกในพื้นที่โครงการ และนำผลการปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จขยายผลออกสู่ราษฎรและเกษตรกรโดยรอบ โครงการ ขณะเดียวกันจะทำการคัดเลือกชาวบ้านหรือเกษตรกรที่มีความขยันแต่ขาดแคลนทุน ทรัพย์เข้ามาดำเนินการโครงการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่โครงการ โดยจะทำการแบ่งพื้นที่บางส่วนให้เกษตรกรเข้ามาทำกิน ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ในโครงการ ซึ่งจะทำให้โครงการมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเต็มศักยภาพ และที่สำคัญเกษตรกรก็จะมีอาชีพมีรายได้และมีความรู้ที่ถูกต้องอีกด้วย.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 20 พฤษภาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=340&contentID=66751

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology