͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เวียดนาม ตลาดกระจายผลไม้ไทย

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 53

เวียดนาม ตลาดกระจายผลไม้ไทย เมื่อผลไม้ในประเทศไทยมีผลผลิตออกมามากเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ นอกจากมีการส่งเสริมการแปรรูปผลไม้ในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว อีกทางหนึ่งที่เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้คือการส่งออกไปยังต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งในรูปของผลไม้สดด้วย


สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ในประเทศไทย มีประมาณ 1.923 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 30 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด พื้นที่ปลูกไม้ผล 57 ชนิด มีประมาณ 8.176 ล้านไร่ ผลผลิตปีละ ประมาณ 7.486 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าของผลผลิตตามราคาที่เกษตรกรขายได้ปีละประมาณ 90,361 ล้านบาท โดยประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญและมีชื่อ เสียงมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แต่ผลไม้ของไทยให้ผลผลิตตามฤดูกาลเมื่อผลผลิตออกมามากตามที่กล่าวมาส่งผลให้มีปัญหาทางด้านการตลาดและราคาตกต่ำ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ที่มีผลผลิตออกมาพร้อม ๆ กัน ในช่วงเดือนเมษายน-กันยายนประมาณ 1.85 ล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 95 ของผลผลิตรวม ซึ่งเดือนที่มีผลผลิตออกมามากที่สุดและมีปัญหาเกิดขึ้นทุกปีคือเดือนพฤษภาคม (ผลไม้ภาคตะวันออกและลิ้นจี่) และเดือนสิงหาคม (ผลไม้ภาคใต้และลำไย)

ประเทศเวียดนามมีประชากรกว่า 83 ล้านคน ติดอันดับประเทศยากจน แต่มีความสามารถที่จะเป็นตลาดการค้าหลักได้ในอนาคต เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดจากการลงทุนของอเมริกา และประเทศในเอเชียในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออก ทำให้เกิดการจ้างงาน เป็นผลทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นและความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น


นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากศักยภาพการเป็นตลาดการค้าหลักได้ในอนาคตของประเทศเวียดนาม ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับประเทศจีนหลายเส้นทาง การกระจายผลไม้จากไทยไปยังเวียดนามโดยเฉพาะผลไม้เกรดเอและเกรดบีจึงเป็นแนว ทางหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไทยสามารถส่งออกผลไม้ได้มากขึ้น ดังนั้น  กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผลไม้ไทยในตลาดอาเซียน (Thai Fruit Fairs in ASEAN) ภายใต้ชื่องาน “Made in Thailand Outlet 2010” ณ ศูนย์แสดงสินค้า Hanoi Friendship Cultural Palace กรุงฮานอย โดยร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลไม้สดของไทยให้ชาวเวียดนามได้รู้จัก ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีผลไม้ภาคตะวันออก ออกสู่ตลาดจึงนำผลผลิต เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด มะม่วง กล้วยไข่ สละ มะพร้าวอ่อนไปจัดแสดงนิทรรศการ และจำหน่าย เป็นการขยายโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าเกษตรไทยอีกช่องทางหนึ่ง โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเกษตรกรไปจำหน่ายผลไม้ที่ตนเป็นเจ้าของผลผลิตด้วยคือ นายสามเมือง ตรีเพชร จากจังหวัดจันทบุรีนำทุเรียนไปจำหน่าย นายสมพล จงรักษาศักดิ์ จากจันทบุรี นำกล้วยไข่ไปจำหน่าย นายพฤหัส พรเจีย จากจันทบุรี นำมังคุดไปจำหน่าย และ นางหนูภาพ ชินคำ จากจังหวัดอุดรธานี ที่ได้นำมะม่วงไปจำหน่าย ซึ่งผลผลิตที่เกษตรกรนำไปจำหน่ายเป็นที่สนใจของชาวเวียดนามเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ผลไม้ที่นำไปจัดนิทรรศการก็เป็นที่สนใจของชาวเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สละ และลองกอง

ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในด้านเป็นอาชีพหลัก และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก เป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมแปรรูป รวมทั้งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด แต่ขณะเดียวกันสภาพการผลิตการตลาดที่ไม่สมดุลส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลบางชนิดต้องประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตที่ตกต่ำจากภาวะผลผลิตล้นตลาดเป็นประจำทุกปี ตลาดเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะประเทศเวียดนาม เป็นตลาดเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมในการกระจายสินค้าเกษตรของไทย เนื่องจากกลุ่มประเทศอาเซียนมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และหากผลไม้ของไทยได้รับการยอมรับในตลาดดังกล่าว จะส่งผลให้ไทยสามารถระบายผลไม้ได้ปริมาณมากในแต่ละฤดู เพราะมีระยะทางขนส่งใกล้การคมนาคมสะดวก อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=64879

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology