͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

สกัดน้ำมันปาล์มด้วยระบบแห้งไทยทำสำเร็จเครื่องแรกของโลก

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 53

สกัดน้ำมันปาล์มด้วยระบบแห้งไทยทำสำเร็จเครื่องแรกของโลก


เมื่อผลงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้วจะนำไปติดตั้ง เพื่อรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันจากแปลงวิจัยในพื้นที่ ถือว่าเป็น เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มเครื่องแรกของประเทศไทย และหนึ่งเดียวในโลก

สถานการณ์ น้ำมันปิโตรเลียมกำลังจะหมดไปจากโลก มนุษยชาติจึงหาพลังงานทดแทนหลายประเทศได้พึ่งปาล์มน้ำมัน ซึ่งในระบบการผลิตหรือสกัด นั้นมักจะมี ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ด้วยน้ำเสียจากขบวนการผลิต

รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับทีมงาน จึงได้ทำการวิจัย ออกแบบพัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูง เป็นการเตรียมความพร้อมผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันระบบแห้งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

แรงบันดาลใจที่ทำให้ทีมงานมุ่งเน้นในการวิจัยชิ้นนี้ รศ.ดร.พรชัย บอกว่า เนื่องจากภาคใต้เป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์มมากที่สุดในประเทศไทย ประกอบกับการผลิตมักมีปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งกระทบต่อชาวบ้านที่อยู่อาศัยใกล้เคียง จึงได้ร่วมกับ นายสมชาย สิทธิโชค เกษตรกรชาวสวนปาล์ม ต.อ่าวลึกเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ คิดค้น เครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม Dry Process


"ซึ่งแตกต่างจากระบบเดิมที่เป็นแบบใช้ไอน้ำ (Stream Process) หลังกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม จะเกิดปัญหาน้ำเสียขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง ในการพัฒนา เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มระบบแห้งหีบรวม (Dry Process) เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่" รศ.ดร.พรชัย บอกอย่างนั้น

สำหรับ Dry Process กระบวนการเริ่มจากนำทะลายปาล์มมาตัดฉีกแยกผลปาล์มออกด้วยเครื่องมือพิเศษ จากนั้นนำ ผลปาล์มที่ได้ไปเข้าเครื่องสั่นเพื่อแยก สิ่งแปลกปลอม ให้เหลือเฉพาะผลปาล์ม แล้วนำเข้าเครื่องอบความร้อนด้วยท่อหมุน เพื่อให้เกิดการ เผาผลาญปริมาณน้ำให้ออกจากผลปาล์มจนหมดสิ้น ก่อนที่จะนำมาตัดแยกเป็นเนื้อปาล์ม เมล็ดใน และกะลา แล้วนำไปบีบน้ำมันเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการ เครื่องจักรชุดนี้ มีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่น้อย ใช้งบลงทุนต่ำ และใช้เชื้อเพลิงจากเศษเหลือทะลายปาล์ม กะลาปาล์ม เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน

หลังทดลองเสร็จสิ้นพบว่า กำลังการผลิตเท่ากับ 2.5 ตันต่อชั่วโมง โดยสามารถขยายกำลังการผลิตได้ถึง 5 ตันต่อชั่วโมง และมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มที่หีบมากกว่า 22% ขึ้นไป ซึ่งมีศักยภาพสูงกว่าระบบเดิม สามารถรองรับผลผลิต ปาล์มน้ำมันได้ตั้งแต่ 3,000 ไร่ขึ้นไป

เมื่อผลงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้วจะนำไปติดตั้ง เพื่อรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันจากแปลงวิจัยในพื้นที่ ทั้งยังนำไปพัฒนาและต่อยอดในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลของชุมชน

ถือว่า เป็นเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มเครื่องแรกของประเทศไทย และหนึ่งเดียวในโลกอีกด้วย ใครสนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกริ๊งกร๊างหา รศ.ดร.พรชัย 08-9758-2900 หรือไปดูเครื่องผลิตด้วยตาตนเองที่ จ.กระบี่ ติดต่อสมชาย 08-9553-1999 ในเวลาที่เหมาะสม.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 29 มีนาคม 2553
http://www.thairath.co.th/content/edu/73425

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
  • 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
  • คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
  • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
  • วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
  • บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
  • วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology