บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทย

รังสิมา รุ่งนภา

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 99 หน้า.

2546

บทคัดย่อ

การศึกษาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทย  วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ การศึกษาสภาวะทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งของประเทศและปัจจัยสำคัญในการนำเข้าของประเทศนำเข้าบางประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ได้จากดัชนีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (RCA) และวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความต้องการของสินค้าโดยใช้ฟังก์ชั่นอุปสงค์เพื่ออธิบายมูลเหตุของการขยายตลาดการส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทยในอนาคต

จากการศึกษาในตลาดญี่ปุ่น พบว่าค่า RCA ของตลาดญี่ปุ่นมีค่าดัชนีน้อยกว่า 1 แสดงถึงการขยายตัวของตลาดไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริโภค คือ ระยะทางในการขนส่งระยะสั้น และคุณภาพของสินค้าในด้านฝีมือการผลิตเป็นที่พอใจต่อผู้บริโภค จึงทำให้มูลค่าการส่งออกไก่สดแช่แข็งของประเทศไทยไปญี่ปุ่นเป็นอันดับหนึ่ง

จากการศึกษาในตลาดเยอรมัน พบวาค่า RCA ของตลาดเยอรมันมีดัชนีมากกว่า 1 ตั้งแต่ปี 2540 และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและปัจจัยที่ส่งเสริมให้ตลาดเยอรมันเป็นที่น่าสนใจและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องคือความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทางการค้าทางการลงทุนและการส่งเสริมด้านวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบกับประเทศเยอรมันมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นบวกตั้งแต่ปี 2540 และรายได้ประชาชาติของชาวเยอรมัน ส่วนใหญ่จะกับการบริโภคถึงร้อยละ 64 ต่อปี ในปี 2542 เป็นเครื่องมือที่สามารถบ่งถึงความต้องการในการใช้จ่ายของประชากรในด้านการบริโภคและค่าความต่างของเงินเป็นสิ่งที่ส่งเสริมมทางด้านการค้าระหว่างประเทศและนโยบายของประเทศเยอรมันในด้านกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ ในด้านการลงทุนการนำเข้าของประเทศไทยได้แก่การให้โควต้ากับประเทศด้อยพัฒนาเป็นการส่งเสริมการนำเข้า แต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นในตลาดเยอรมันคือการควบคุมมาตรฐานของสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของยุโรป ไทยยังต้องการผู้มีความชำนาญเข้ามาปรับปรุงคุณภาพสินค้าไก่สดแช่แข็งของประเทสให้เป็นไปตามมาตรฐานและความต้องการของตลาดในส่วนของประเทศทางกุ่มยุโรปเพิ่มมากขึ้น

จากการศึกษาเพิ่มเติมในตลาดเกาหลีใต้และตลาดเนเธอร์แลนด์ พบว่าค่า RCA ของตลาดเกาหลีใต้เริ่มมีดัชนีมากกว่า 1 ตั้งแต่ปี 2541 แต่ตลาดเนเธอร์แลนด์ พบว่า RCA น้อยกว่า1 จึงเป็นตลาดที่น่าสนใจในการศึกษาต่อไป