͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ดันเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เกษตรหนุนทำเป็นอาชีพหลักสกัดลอบนำเข้าลดเกรด "ผ้าไหมไทย"

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 52

ดันเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เกษตรหนุนทำเป็นอาชีพหลักสกัดลอบนำเข้าลดเกรด "ผ้าไหมไทย"

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า จากการเดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา อ.เมือง จ. นครราชสีมา พบว่า ที่ผ่านมามีการดำเนินงานในการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านไหม รวมถึงการส่งเสริมอนุรักษ์ไหมไทยเป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันยังพบปัญหาการลักลอบนำเข้าเส้นไหมคุณภาพต่ำจากประเทศใกล้เคียงมาผลิตผ้าไหม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่การแข่งขันทางการตลาด และคุณค่าของไหมไทยที่ถูกทำให้เสื่อมลง

กระทรวงเกษตรฯจึงมีแนวทางแก้ไข โดยมุ่งส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เป็นอาชีพหลัก เพื่อนำมาใช้ทดแทนการนำเข้าเส้นไหมจากต่างประเทศ ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมมือกันดำเนินการโดยให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมที่มีคุณภาพให้กับเกษตรกร และให้เกษตรจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่เกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย

นอกจากนั้น ในส่วนของการแอบอ้างสินค้าไหมไทย "Thai Silk" ซึ่งใช้เส้นไหมคุณภาพต่ำในการผลิตผ้าไหม ได้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน 4 ชนิด ได้แก่ นกยูงสีทอง นกยูงสีเงิน นกยูงสีน้ำเงิน และนกยูงสีเขียว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรไปแล้วกว่า 33 ประเทศ

"ปัญหาเกษตรกรผู้ผลิตไหมไม่มีตลาดที่แน่นอนยังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ โดยแต่ละจังหวัดต้องมีส่วนช่วยผลักดันในเรื่องของการเพิ่มตลาดจำหน่ายสินค้าผ้าไหมในทุกจังหวัด ในขณะเดียวกันกระทรวงฯ จะทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในการจัดหาสถานที่แสดงและจำหน่ายสินค้าผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ไม่ว่าจะเป็นศาลากลางจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยว หรือตามโรงแรมต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการนำสินค้าไปจำหน่าย และเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านไหมไทย และผลิตภัณฑ์ไหมให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย สำหรับในส่วนของตลาดต่างประเทศ นอกจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมกับองค์การยูเนสโกจัดงาน"ไหมไทย สายใยแห่งแผ่นดิน" (Thai Silk: Culture Heritage) ณ อาคารสำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2552 และจะไปโรดโชว์ประเทศอื่นๆ ต่อไป" นายธีระ กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 30 เมษายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=159268

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology