͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ไร่มันโคราชป่วน-เพลี้ยกินยอด เหตุฝนทิ้งช่วงนาน-เร่งปราบหวั่นระบาดหนัก

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 52

ไร่มันโคราชป่วน-เพลี้ยกินยอด เหตุฝนทิ้งช่วงนาน-เร่งปราบหวั่นระบาดหนัก

รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา เกิดเหตุระบาดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรในพื้นที่ ต.โป่งแดง อ.ขามทะเลสอ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ต้นมันสำปะหลังที่ปลูกไว้ไม่เจริญเติบโต บางต้นยืนต้นตายเนื่องจากเพลี้ยแป้งกัดกินยอดมันสำปะหลัง

ด้านนายสวัสดิ บึงไกร เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่าในพื้นที่ปลูกไร่มันสำปะหลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของเพลี้ยแป้งในพื้นที่อำเภอปากช่อง วังน้ำเขียว ปักธงชัย เสิงสาง ขามทะเลสอ และอำเภอครบุรี สั่งการให้เกษตรอำเภอทั้ง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่ไปตรวจสอบในแต่ละอำเภอเพื่อให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกร รวมทั้งให้ความรู้การป้องกันและการฉีดพ่นยาเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เพลี้ยแป้งระบาดขยายวงกว้าง ทั้งนี้ เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในแต่ละอำเภอขอให้ไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประสบภัยธรรมชาติเพื่อที่ทางหน่วยงานภาครัฐจะได้ให้ความช่วยเหลือ

เกษตรจังหวัดนครราชสีมาแนะวิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งในเบื้องต้นว่าให้เกษตรกรเข้าสำรวจตรวจสอบแปลงมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง หากพบการระบาดให้ตัดยอด ใบ ที่มีเพลี้ยแป้ง นำไปทำลายทิ้ง สำรวจหาปริมาณของแมลงช้างปีกใสหากพบไม่ควรทำลาย เนื่องจากเป็นแมลงห้ำ คอยควบคุมปริมาณเพลี้ยแป้งให้อยู่ในระดับสมดุลในสภาพปกติ และให้เกษตรกรให้เชื้อราบิวเวอร์เรีย 1-2 ก.ก./น้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นในแปลงที่พบเพลี้ย โดยฉีดพ่นในช่วงที่มีความชื้นสูง ช่วงเวลาเย็นที่มีแสงแดดอ่อนๆ หรือตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นควรปรับหัวฉีดให้พ่นอย่างละเอียดฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น สามารถตรวจสอบผลการควบคุมศัตรูพืชได้หลังจากใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียไปแล้ว 1-3 วัน หากพบการระบาดมากให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ประสานศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดนครราชสีมาเพื่อลงพื้นที่ดำเนินการในขั้นต่อไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 28 เมษายน 2552
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNVEk0TURRMU1nPT0=§ionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB5T0E9PQ==

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology