͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ปศุสัตว์แนะวิธีการทำ 'หญ้าแห้งแดดเดียว'

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 52

ปศุสัตว์แนะวิธีการทำ 'หญ้าแห้งแดดเดียว'

ช่วงแล้งสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้อาจไม่มีอาหารกิน ขนาดคนยังไม่ค่อยจะมีอะไรกิน สัตว์เลี้ยงจะไปกินอะไร ในเมื่อเราเลี้ยงมันมาเราก็ต้องหาอะไรให้มันกิน ให้มันผ่านช่วงแล้งลำเค็ญนี้ไปให้ได้ ปัญหานี้มิใช่ปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นปัญหาประจำปี ซึ่งทางกรมปศุสัตว์เขาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามช่วยเกษตรกรอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ เรียกว่าช่วยเหลือกันทุกรูปแบบ ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์บอกว่า ในช่วงฤดูฝนหญ้าที่เกษตรกรปลูกไว้ให้สัตว์กินมีปริมาณมากเกินพอ หญ้าที่เหลือในแปลงส่วนที่ยังไม่ได้ถูกตัดไปเลี้ยงสัตว์จะแก่เกินไป ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้คุณค่าทางอาหารน้อยลง ทางปศุสัตว์เขาแนะนำว่า วิธีหนึ่งคือการทำหญ้าแห้งไว้ในยามขาดแคลน
 
ลักษณะของหญ้าแห้งที่มีคุณภาพดี
 
1. เป็นหญ้าแห้งที่ตัดทำจากพืชที่มีอายุพอเหมาะจะทำให้มีปริมาณธาตุอาหารสูง
 
2. มีใบมาก ส่วนของลำต้นอ่อนนิ่ม ส่วนของใบพืชจะมีธาตุอาหารสูงและมีลักษณะนิ่มน่ากิน
 
3. มีสีเขียวอ่อนและกลิ่นหอม เป็นหญ้าแห้งที่มีคุณภาพดี สีเขียวปนเหลืองมีคุณภาพปานกลาง สีเหลืองคุณภาพต่ำ สีเหลืองขาว เสื่อมคุณภาพไม่เหมาะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
 
4. ปราศจากวัชพืชอื่น ๆ เพราะจะทำให้สัตว์กินหญ้าแห้งน้อยลง โดยเฉพาะจะต้องไม่มีวัชพืชที่ระบาดร้ายแรงและวัชพืชที่เป็นพิษกับสัตว์ เช่น หญ้าขจรจบ ต้นสาบเสือ ต้นกระเพราะป่า ต้นไมยราบ เป็นต้น
 
5. ไม่เป็นรา และมีความชื้นมากเกินไป จนเกิดลักษณะการหมักเน่า จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ หรือสัตว์ไม่กิน
 
6. ไม่มีวัตถุต่าง ๆ ปลอมปน เช่น เศษไม้ ถ่าน ฝุ่น เป็นต้น
 
สำหรับวันนี้ ทางปศุสัตว์เขามีวิธีการทำหญ้าแห้งแดดเดียวมาแนะนำให้เกษตรกรนำไปทำ โดยในเรื่องนี้ นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ บอกว่า การเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์ในรูปของหญ้าแห้ง เพื่อเป็นเสบียงสัตว์สำรองไว้ใช้ในฤดูที่ขาดแคลนพืชอาหารสัตว์สด เช่น ฤดูแล้งซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ดังนั้นเกษตรกรควรมีการวางแผนล่วงหน้าในการจัดเตรียมพืชอาหารสัตว์ที่จะนำมาทำหญ้าแห้ง ตั้งแต่การคัดเลือกชนิดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่ปลูก การดูแลจัดการและบำรุงรักษาแปลง รวมทั้งอายุของหญ้าด้วย
 
สถานีพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี  กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้พัฒนาเทคนิควิธีการทำหญ้าแห้ง โดยลดระยะเวลาการทำหญ้าแห้งจากวิธีการปกติทั่วไปที่ตัดหญ้า และตากในแปลงใช้ระยะเวลา 3-5 วัน ซึ่งเทคนิคนี้จะใช้ระยะเวลาตัดหญ้าและตากในแปลงเพียง 1 วันเท่านั้น โดยให้ชื่อหญ้าแห้งนั้นว่า “หญ้าแห้งแดดเดียว” 
 
สำหรับวิธีการทำหญ้าแห้งนั้น เริ่มตั้งแต่การเลือกชนิดของพันธุ์หญ้าที่ปลูก ซึ่งควรเป็นหญ้าที่ลำต้นเล็ก ใบเล็ก อายุของหญ้าที่ตัด   30-45 วัน เพื่อให้ได้หญ้าที่มีคุณภาพ หญ้าไม่ยาวและหนาจนเกินไปเพื่อให้แห้งง่าย พื้นที่ในการตัดไม่ควรเกิน 10 ไร่ต่อวัน สำหรับช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำหญ้าแห้งนั้น ควรจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน เนื่องจากท้องฟ้าแจ่มใส มีแดดจัด โดยจะเริ่มตัดหญ้าตั้งแต่เช้าตรู่ (เวลาประมาณ 06.00 น.) ใช้เครื่องตัดหญ้า  ชนิดติดท้ายรถฟาร์มแทรกเตอร์แบบดรัมโมเวอร์ (drum mower) ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และเกลี่ยหญ้าเพื่อกระจายหญ้าให้สัมผัสกับแสงแดดและอากาศได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น โดยใช้เครื่องสะบัดผึ่งชนิดติดท้ายรถฟาร์มแทรกเตอร์ ใช้เวลารอบละ 1 ชั่วโมง โดยในหนึ่งวันเกลี่ยหญ้าประมาณ 4-5 รอบ เนื่องจากจะทำให้หญ้าแห้งเร็วขึ้น ต่อจากนั้นในเวลา 16.00 น. เกลี่ยรวมกองและอัดฟ่อนโดยใช้เครื่องอัดหญ้าชนิดติดท้ายรถฟาร์มแทรกเตอร์ก็จะได้หญ้าที่แห้ง มีสีเขียวน่ากินและมีกลิ่นหอม เทคนิคดังกล่าวนี้ถึงแม้ว่าจะเพิ่มเวลาการทำงานของคนและเครื่องจักร รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 20% หรือต้นทุนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณฟ่อนละ 2 บาทเท่านั้น แต่หญ้าที่ได้จากหญ้าแดดเดียวนี้ จะมี สีเขียวน่ากิน และมีกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นชอบของสัตว์เลี้ยง
 
หากเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปสนใจการทำหญ้าแห้งแดดเดียวเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี หมู่ที่ 2 ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี หรือโทรศัพท์ 0-3548-1178 และ 08-6169-8161 ได้ในวันและเวลาราชการ.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 20 เมษายน 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=196717&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology