͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

"สมุนไพร" ส่วนประกอบอาหารไทยที่มีคุณค่า

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 52

"สมุนไพร" ส่วนประกอบอาหารไทยที่มีคุณค่า อาหารไทยขึ้นชื่อลือไกลไปทั่วโลก ด้วยรสชาติและส่วนประกอบที่เป็นสมุนไพร พืชผักบางชนิดที่นำมาประกอบอาหารเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดโรคได้ด้วย ราคานั้นก็ไม่แพงอีกทั้งไม่ใช่สิ่งที่หายากอีกด้วย
 
สบโอกาสทางช่องทางเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารไทย ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่ครัวโลก วางกลยุทธ์กำหนดทิศทางอาหารไทยให้เป็นอาหารสุขภาพ เพื่อมุ่งหวังกระตุ้นพืชผักสมุนไพรไทยให้ไปไกลทั่วโลก ซึ่งโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก มุ่งหวังเพิ่มความสามารถการแข่งขันและขยายธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยจะต้องยกระดับมาตรฐานร้านอาหารไทยและเพิ่มจำนวนพ่อครัวแม่ครัวด้วย เพราะการเพิ่มจำนวนพ่อครัวแม่ครัวนั้น แน่นอนว่าจะมีเงินสะพัดเข้าประเทศมากซึ่งย่อมจะส่งผลดี ส่วนการพัฒนาร้านอาหารไทยนั้นจะต้องพัฒนาทั้งร้านต้นแบบและขยายรูปแบบอาหารไทยให้หลากหลายขึ้น เช่น ในแง่ของการให้บริการอาจมีการส่งอาหารถึงบ้าน เป็นต้น
 
สำหรับเรื่องอาหารไทยที่มีส่วนประกอบของพืชผักสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการรวมทั้งบางชนิดมีสรรพคุณทางยาด้วย  ผศ.พิมล กล่าวว่า
 
“อาหารไทยให้เป็นเมนูอาหารสุขภาพทานแล้วดีต่อสุขภาพ เพราะอาหารไทย ถือว่าเป็นอาหารที่มีพืชสมุนไพรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งหมายถึงพืชผักต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรุง เครื่องเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของอาหารไทย การใช้เครื่องเทศนอกจากใช้ในการแต่งกลิ่น รส และเพิ่มสีสันของอาหารแล้ว ยังใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นเครื่องเทศที่ใช้ในอาหารไทยส่วนใหญ่ ยังมีสรรพคุณในทางยาที่ทำให้ถือว่าอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นสิ่งที่เราอยากจะเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทั่วโลกรู้ว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่รสชาติดี และดีต่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยเครื่องเทศสมุนไพร"
 
เมนูยอดนิยมอย่าง “ต้มยำกุ้ง”  ที่ต่างชาติต่างชื่นชมในเรื่องของรสชาติ อีกทั้งยังมีองค์ประกอบ อาทิ ข่า ตะไคร้ หรือ พริก ล้วนมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ โดยข่า และ ตะไคร้  มีสรรพคุณขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือ พริก ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร ถ้ากินในปริมาณไม่มากช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งแก้อาเจียน แก้ปวดเมื่อย ประเด็นนี้สำคัญจะต้องสร้างภาพลักษณ์ให้กับอาหารไทยและร้านอาหารไทยด้วยการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่ององค์ความรู้ วัฒนธรรม  รวมทั้งความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการประกอบและบริโภคอาหารไทย
 
“ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเรานับเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชสมุนไพรหรือเรียกว่ารั้วกินได้ ณ ปัจจุบันนี้เรา ๆ ท่าน ๆ ก็สามารถมีวิถีชีวิตเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ง่าย ๆ เลยใช้รั้วบ้านหรือข้างบ้านให้เกิดประโยชน์ ถ้าไม่มีรั้วบ้านก็ใช้พื้นที่ว่างรอบ ๆ บ้านบ้านปลูกพืชสมุนไพร อาทิ ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว หรือพริกชนิดต่าง ๆ พืชเหล่านี้ถ้าเรารับประทานในปริมาณที่พอเหมาะพอดี จะมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค และยาบำรุงร่างกาย ถ้าเหลือจากการบริโภคแล้ว สามารถปลูกเป็นอาชีพเสริม ช่วยเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี”ผศ.พิมล กล่าว
 
หรือการปลูกไม้เลื้อยประเภทกินได้ เช่น  ผักบุ้ง  ตำลึง  บวบ  กระถิน  ซึ่งพืชผักประเภทนี้เจริญเติบโตได้ดี ไม่ต้องคอยดูแลรักษามากและไม่ต้องใช้สารเคมี นับเป็นวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ที่เรียบง่ายที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 7 เมษายน 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195494&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology