͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ตลาดสินค้าเกษตรสอบตกระนาว "สศก.-หอการค้า"ประเมิน-ใช้ประโยชน์เครื่องมือไม่คุ้มค่า

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 52

ตลาดสินค้าเกษตรสอบตกระนาว "สศก.-หอการค้า"ประเมิน-ใช้ประโยชน์เครื่องมือไม่คุ้มค่า

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกการตลาดสินค้าเกษตร ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง รวมทั่วประเทศ 16 ชนิดอุปกรณ์ 123 แห่ง พบว่า ลานตาก ฉาง โรงสีข้าว ไซโล โรงเก็บเมล็ดพันธุ์ปรับอากาศ ห้องเย็น โรงอบ/รมควันยาง โรงงานอาหารสัตว์ ตลาดกลาง รวม 26 แห่ง ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันมีลานตากและฉาง รวม 11 แห่ง ที่มีการใช้ประโยชน์ผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เนื่องจากพฤติกรรมการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรของเกษตรกรเปลี่ยนไป รวมทั้งการบริหารจัดการของคณะกรรมการยังขาดประสิทธิภาพ

เมื่อดูประสิทธิผลการบริหารจัดการอุปกรณ์การเกษตรจากตัวชี้วัด ต้นทุนเฉลี่ยในการให้บริการอุปกรณ์การเกษตร การบริหารงบประมาณรายรับและรายจ่าย ปริมาณผลผลิตที่นำมาใช้บริการอุปกรณ์การเกษตร และจำนวนครั้งในการตรวจเช็คซ่อมบำรุงอุปกรณ์การเกษตรที่เกิดขึ้นจริง เปรียบเทียบกับที่หน่วยงานวางแผนไว้ พบว่า อุปกรณ์กลุ่มพืชและกลุ่มปศุสัตว์ยังมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลน้อย จากคะแนนเต็ม 5 ด้วยคะแนนเฉลี่ย 2.01 และ 2.51 ตามลำดับ สำหรับอุปกรณ์กลุ่มประมง มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลปานกลาง ระดับคะแนนเฉลี่ย 2.95

นอกจากนั้น ในส่วนของประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุปกรณ์การเกษตร ในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การติดต่อขอใช้บริการ กระบวนการให้บริการ ระหว่างรอใช้บริการและหลังใช้บริการพบว่า กลุ่มพืชมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้อยคะแนนเฉลี่ย 2.27 กลุ่มปศุสัตว์มีประสิทธิภาพปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.06 กลุ่มประมงมีประสิทธิภาพมาก คะแนนเฉลี่ย 3.50

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 3 เมษายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=155465

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology