͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

สศก.คุยไทยพร้อมขึ้นเป็นผู้นำ ความมั่นคงด้านอาหารอาเซียน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 52

สศก.คุยไทยพร้อมขึ้นเป็นผู้นำ ความมั่นคงด้านอาหารอาเซียน

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยความคืบหน้าความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียนว่า กลุ่มประเทศอาเซียนได้กำหนดให้มีการเพิ่มผลผลิตพืชอาหาร 5 ชนิด ที่เป็นพืชอาหารที่มีความมั่นคง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และถั่วเหลือง ซึ่งในส่วนของประเทศไทยพืช 3 ชนิดที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกคือ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย เนื่องจากเป็นพืชที่ไทยมีศักยภาพในการเพาะปลูก ทั้งด้านพันธุ์ที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะมันสำปะหลังของไทยเป็นพันธุ์ที่ดี ให้ผลผลิตสูง ซึ่งขณะนี้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ตันกว่าต่อไร่ บางแห่งได้ 15-30 ตันต่อไร่ เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเสริม อ้อยก็เช่นกันสามารถเพิ่มผลผลิตได้ไม่ยาก

ส่วนการเพิ่มผลผลิตข้าวนั้นถึงแม้ว่าเราจะมีพันธุ์ดีเพิ่มผลผลิตได้ถึง 100 ถังต่อไร่ แต่ที่สำคัญคือเรื่องของน้ำ ระบบชลประทาน ที่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้เพียงพอ เนื่องจากถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มรอบการเพาะปลูกได้อีก ผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้นมหาศาล ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนปรับโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว โดยตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้มากขึ้นถึง 60 ล้านไร่ แต่เป็นแผนระยะยาว 15 ปี ดังนั้นเรื่องการเพิ่มผลผลิตข้าวคงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

แต่พืชที่น่าเป็นห่วงคือถั่วเหลือง เพราะนอกจากเราจะผลิตไม่พอใช้ภายในประเทศ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจำนวนมาก โดยเราผลิตได้เพียงปีละ 2 แสนตัน ขณะที่ความต้องการใช้สูงถึงปีละ 2 ล้านตัน ดังนั้นจำเป็นต้องรักษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองให้ดี เนื่องจากเป็นพืชที่ทั่วโลกใช้ระบบการปลูกแบบจีเอ็มโอหมดแล้วเว้นแต่ประเทศไทย ทำให้เป็นที่ต้องการของหลายประเทศที่ต่อต้านพืชจีเอ็มโอ จึงต้องเร่งฟื้นฟูเกษตรกรกลุ่มนี้ไม่ให้ลดปริมาณการปลูก

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 1 เมษายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=155183

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology