บทคัดย่องานวิจัย

การห่อผลลิ้นจี่เพื่อลดปริมาณโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว

สุรชาติ คูอาริยะกุล และ วิชชา สอาดสุด

รายงานผลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.

2540

บทคัดย่อ

การห่อผลลิ้นจี่เพื่อลดปริมาณโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว

ได้ทำการห่อผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยภายหลัง 45 วัน จากวันที่ดอกในช่อบาน  75% มี 5 กรรมวิธี ได้แก่ 1)

ถุงพลาสติกใสชนิด polyetrhylene (PE)  2) ถุงพลาสติกใสชนิด polypropylene (PP) 3)

ถุงรีเมย์ (Tyvek) 4) ถุงกระดาษหนังสือพิมพ์  และ 5) การไม่ห่อผล (control) เมื่อผลลิ้นจี่สุก (อายุ

107 วันภายหลังวันที่ดอกในช่อบาน 75% ได้เก็บเกี่ยวแล้วนำมาลดอุณหภูมิ (pre-cooled) บรรจุใน

ถาดโฟมและหุ้มด้วยพลาสติก PVC  แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5-6 C และ 22-25 C  ปรากฏว่า

การห่อผลลิ้นจี่ทุกกรรมวิธีที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 22-25 C  ระดับอาการเปลือกผลสีน้ำตาลและผลเน่าที่

รุนแรงภายหลังการเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 5 วัน และพบเชื้อรา จำนวน 14 สกุลที่เจริญเติบโตบนเนื้อเยื่อเปลือก

ผลลิ้นจี่  เชื้อราที่พบเป็นจำนวนมาก  ได้แก่ Trichothecium, Fusarium  และ Aspergillus  การเก็บรักษา

ไว้ที่อุณหภูมิ 5-6 C มีระดับการเกิดโรคเก็บน้อยกว่าแม้ว่ามีการเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 25 วัน  พบเชื้อราจำนวน 

32  สกุลที่แยกได้จากเนื้อเยื่อเปลือกผลผลิ้นจี่ที่เก็บรักษาไว้อุณหภูมิดังกล่าว  เชื้อราที่พบเป็นจำนวนมาก ๆ ได้แก่ 

เชื้อรา Cladosporium, Phoma, Fusarium  และ  Nigrospora  การทดสอบความสามารถใน

การทำให้เกิดโรคของเชื้อราจำนวน 10 สกุลกับผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยกิมเจ็ง และจักรพรรดิ์ พบว่าเชื้อรา

Botryodiplodia,  Colletotrichum,  Glomerella,  Myccosphaerella,  Phoma 

Phomopsis  และ Trichothecium  ทำให้ผลลิ้นจี่เป็นโรคผลเน่าได้ การห่อผลลิ้นจี่ด้วยวัสดุ 4 ชนิด 

ดังกล่าวสามารถลดปริมาณเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคภายหลังการเก็บเกี่ยวได้  และถุงรีเมย์เป็นวัสดุห่อผล

ที่ดีกว่าวัสดุชนิดอื่น