บทคัดย่องานวิจัย

การใช้เครื่องสับใบอ้อยชนิดต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยหลังจากเก็บเกี่ยว

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม เฉลิมพล ไหลรุ่งเรือง ปรีชา พราหมณีย์ จรัญ อารีย์ และ สุรวิทย์ สุริยพันธุ์

รายงานการประชุมวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษาคม 2541 ณ. โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จังหวัดขอนแก่น. หน้า 350-372.

2539

บทคัดย่อ

การใช้เครื่องสับใบอ้อยชนิดต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยหลังจากเก็บเกี่ยว

หลังเก็บเกี่ยวอ้อยบางพื้นที่นิยมเผาใบและเศษซากอ้อย  (poat harvest

burning)  เพื่อป้องกันไม่ให้อ้อยตอที่งอกแล้วถูกไฟไหม้  เพราะว่า  ถ้าอ้อยตองอกแล้ว

ถูกไฟไหม้จะเสียหายมากกว่าไฟไหม้หลังเก็บเกี่ยวอ้อยแล้วทันที  แต่จากการทดลองของ

อรรถสิทธิ์  และคณะ  (2539)  พบว่า  อ้อยที่มีการเผาใบหลังเก็บเกี่ยวอ้อยมีผลผลิตอ้อย

ตอต่ำกว่าอ้อยที่ไม่มีการเผาใบ  (มีใบคลุม)  ดังนั้น  เพื่อไม่ให้ผลผลิตอ้อยตอลดและไม่ให้

มีใบและเศษซากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงเผาอ้อยตอที่งอก  การใช้เครื่องสับใบและเศษซากอ้อย

ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้  อย่างไรก็ตาม  ต้องมีการทดลองการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะ

สมสำหรับอ้อยตอที่มีการใช้เครื่องสับใบและเศษซากอ้อยลงดิน  เพื่อป้องกันไม่ให้อ้อยขาด

ไนโตรเจนที่มีผลมาจากจุลินทรีย์  ย่อยสลายเศษซากอ้อยในดินแก่งแย่งไนโตรเจนกับอ้อย

(immobilization)  ในปีแรกเป็นอ้อนปลูก  เป็นการเตรียมการที่ทดลองเครื่องสับใบและ

เศษซากอ้อยในอ้อยตอ 1  เปรียบเทียบเครื่องสับใบและเศษซากอ้อยมี  2  ชรนิด  คือ  ผาน

จากหยักและจอบหมุน  และใช้ปุ๋ยไนโตรเจน  3  อัตรา คือ  15,  30  และ 45  กก.N/ไร่